วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครูดนตรีไทย - พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชการที่ 1 กับกรมสมเด็จพระอัมรินทรามาตย์ พระบรมราชินี
               พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้อง เป็นวรรณคดีที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม เช่น อิเหนา รามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน ทรงมีความ
สามารถในการสีซอสามสายเป็นอย่างดียิ่ง และมีซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงที่มีชื่อเสียงมากคือ
"
บุหลันลอยเลื่อน" ทรงเป็นผู้ตรากฏหมาย "ตราภูมิคุ้มกัน" ยกเว้นภาษีสวนมะพร้าว   หากส่วนใดมีกะโหลกมะพร้าวทำซอสามสายได้ ให้ยกเว้นภาษี นับเป็นการส่งเสริมพันธุ์ มะพร้าวเพื่อการดนตรีไทย
                พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงครองราชสมบัติเป็นเวลาทั้งสิ้น 15 ปี สวรรคต เมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2367พระชนมายุ 56 พรรษากับ 5 เดือน 
Read more »

ครูดนตรีไทย - สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ

สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์  ทรงเป็นราชโอรสองค์ที่ 62  ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4 ประสูติเมื่อวันอังคารเดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 พระมารดาคือ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ)
                สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงมีชายา 3 ท่าน ท่านแรกคือ หม่อมราชวงศ์ปลื้มศิริวงศ์  มีธิดาด้วยกัน 1 องค์ คือ หม่อมเจ้าหญิงปลื้มจิตร (เอื้อย จิตรพงศ์) ท่านที่ 2 ได้แก่หม่อมมาลัย  เสวตามร์  มีโอรสด้วยกัน 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าชายอ้าย และหม่อมเจ้าชายยี่ และท่านที่ 3 ได้แก่ หม่อมราชวงศ์โต งอนรถ (ธิดาหม่อมเจ้าหญิงแดง งอนรถ) มีพระโอรสธิดารวมด้วยกัน 6 พระองค์ คือ หม่อมเจ้าสาม หม่อมเจ้าประโลมจิตร (อี่ ไชยันต์) หม่อมเจ้าดวงจิตร์ (อาม) หม่อมเจ้ายาใจ (ไส) หม่อมเจ้าเพลารถ (งั่ว) และหม่อมเจ้ากรณิกา (ไอ)
                พระปรีชาสามารถและผลงานด้านดนตรีไทย ทรงรอบรู้ในกิจการและวิชาการหลายสาขาวิชา เช่น ทรงรอบรู้โบราณคดี การช่างศิลปะแบบไทย ทรงศึกษาเรื่องประเพณีต่างๆ ทางตะวันออกและทรงศึกษาทางดุริยางค์ศิลป์ไทย จนมีความรู้ความสามารถอย่างดี
ทางด้านดุริยางค์ศิลป์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงต่างๆ ไว้หลายเพลง ได้แก่ เพลงสรรเสริญพระบารมี ต่อมารัชกาลที่ 6 จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขใหม่และโปรดเกล้า ให้ใช้ร้องโดยทั่วไป เพลงมหาชัยแบบสากล และเพลงไทย เช่น เพลงเขมรไทรโยค ช้าประสม 
Read more »

ครูดนตรีไทย - สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

ทรง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระนางเจ้าสุขุมมาลมารศรี พระราชเทวี ประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 นับเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าชายชั้นสูงสุดเรียงตามพระชนมายุเป็นอันดับที่ 3 รองจากสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงศึกษาวิชาการชั้นต้น ณ โรงเรียนสวนกุหลาบ จนถึง พ.ศ. 2434 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ทรงกรมเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนมไหสุริยสงขลา ต่อมา พ.ศ. 2438 ทรงได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ แล้วทรงย้ายไปเรียนวิชาทหารบกในประเทศเยอรมันนีเมื่อ พ.ศ. 2439 ศึกษาอยู่ราว 6 ปีเศษ เรียนสำเร็จสอบได้คะแนนยอดเยี่ยม แล้วเสด็จมารับราชการในปี พ.ศ. 2446 พระชันษา 22ปี
          ในด้านดนตรี ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ได้รับการยกย่องว่า ทรงเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงยอดเยี่ยมของกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นคนไทยคนแรกที่แต่งเพลงไทยสากลและเป็นคนไทยคนแรกที่เรียนรู้โดยแยก เสียงประสานถูกต้องตามหลักสากลนิยม ดนตรีไทยที่ทรงคือ สีซอ ได้ตั้งแต่ยังมิได้โสกันต์ (ชันษาน้อยกว่า 10 ปี)  เมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยใน พ.ศ. 2446 ได้ทรงสร้างวังบางขุนพรหม และหาวงปี่พาทย์มาประจำวง  เดิมทีเดียวทรงใช้วงดนตรีจากอัมพวา
Read more »

ครูดนตรีไทย - พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม

          กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม  มีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์   เป็น พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  กับเจ้าจอมมารดารมรกต  ประสูติเมื่อวันที่  13  กันยายน  พ.ศ.  2425   ตรงกับวันพุธ  ขึ้น  7  ค่ำ  เดือน  10  ปีมะเส็ง  รัตนโกสินทร์ศก  101  ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ  เมื่อเสด็จกลับได้ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเก ษตราธิการ  ในปี  พ.ศ.  2451  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ตั้งพระเจ้าลูกยาเธอ  พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์  เป็น กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม 
                ความสามารถและผลงาน
                กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม  ทรงสนพระทัยดนตรีไทยมากถึงกับมีวงปีพาทย์วงหนึ่งเรียกกันว่า  “วงพระองค์เพ็ญ”   ทรงเป็นนักแต่งเพลงมราสามารถพระองค์หนึ่ง  โดยได้ทรงแต่งเพลง ลาวดวงเดือน”  ซึ่งเป็นเพลงที่นิยมกันแพร่หลายในปัจจุบัน
สำหรับเพลงลาวดวงเดือนนี้  พระองค์ท่านแต่งขึ้นต้องการให้มีสำเนียงลาว  เนื่องจากโปรดทำนองและลีลาเพลง  “ลาวดำเนินทราย”  เมื่อคราวที่เสด็จตรวจราชการ  ภาคอีสาน  ระหว่างที่ประทับแรมอยู่ตามทางจึงทรงแต่งเพลงลาวดวงเดือนขึ้น  เพื่อให้คู่กับเพลงลาวดำเนินทราย   ประทานชื่อว่า  “เพลงลาวดำเนินเกวียน”   ได้มีผู้กล่าวว่า  แรงบันดาลใจที่พระองค์แต่งนั้นเนื่องจากผิดหวังในความรัก  คือ  เมื่อพระองค์จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ  เสด็จขึ้นไปเที่ยวเชียงใหม่  และได้พบกับเจ้าหญิงชมชื่น  ธิดาเจ้าราชสัมพันธวงศ์  พระองค์สนพระทัยมากจนถึงกับให้ผู้ใหญ่ในมณฑ,พายัพเป็นเถ้าแก่เจรจาสู่ขอแต่ ได้รับคำตอบจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ว่าขอให้เจ้าหญิงชมชื่นอายุ  18  ปีก่อน  เพราะขณะนั้นอายุเพียง  16  ปี  และขอให้ได้รับพระบรมราชนุญาตด้วย  เมื่อกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมกลับถึงกรุงเทพฯ  ก็ได้รับการทัดทานจากพระบรมวงศานุวงศ์มาก  พระองค์ได้รับความผิดหวัง  จึงระบายความรักด้วยความอาลัยลงในพระนิพนธ์บทร้อง  “เพลงลาวดวงเดือน”  ซึ่งเป็นเพลงที่มีความหมายไพเราะอ่อนหวามจับใจผู้ฟังมาจนทุกวันนี้
พระองค์สิ้นพระชนม์ (ประชวนพระโรคปอด)  เมื่อวันที่  11  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2452  มีพระชนมายุเพียง  28  พรรษา 
Read more »

ครูดนตรีไทย - ครูมนตรี ตราโมท

          อาจารย์มนตรี  ตราโมท  เดิมชื่อ  บุญธรรม  ตราโมท  เกิดวันที่  17  มิถุนายน  พ.ศ.  2443  ที่บ้านท่าพี่เลี้ยง   อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นบุตรนายยิ้ม  และนางทองอยู่  เมื่อ  พ.ศ.  2475  สมรสกับนางสาวลิ้นจี่  (บุรานนท์)  มีบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่  2  คน  คือ  นายฤทธี  และนายศิลปี  ต่อมาเมื่อนางลิ้นจี่  ถึงแก่กรรมจึงแต่งงานกับนางสาวพูนทรัพย์  (นาฏประเสริฐ)  มีบุตร  2  คน  คือ  นางสาวดนตรี  และนายญาณี 
                ความสามารถและผลงาน
                อาจารย์มนตรี  ตราโมท  เริ่มการศึกษา   โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี  (ปรีชาพิทยากร)  สอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ภายหลังไปเรียนต่อที่โรงเรียนพรานหลวง  ในพระบรมราชูปถัมภ์  จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6
                อาจารย์มนตรี  สนใจดนตรีมาตั้งแต่เด็ก  เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ  ซึ่งที่วัดนี้มีวงปี่พาทย์และมีการฝึกซ้อมอยู่เสมอ  จึงได้ยินเสียงเพลงจากวงปี่พาทย์อยู่เป็นประจำ   จนในที่สุดได้รู้จักกับนักดนตรีในวงและขอเข้าไปเล่นด้วย  เมื่อมีการบรรเลงก็มักจะไปช่วยตีฆ้องเล็กหรือทุ้มเหล็กด้วยเสมอ 
                เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่  3  อาจารย์มนตรีตั้งใจจะมาเรียนต่อในกรุงเทพฯ  แต่บังเอญเจ็บกระเสาะกระแสะเรื่อยมา  จึงไม่ได้เรียนต่อ  ครูสมบุญ  นักฆ้องซึ่งเป็นครูปี่พาทย์ประจำวงที่วัดสุวรรณภูมิ  ชวนให้มาหัดปี่พาทย์  จึงได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมาประมาณ  2  ปี  และได้เป็นนักดนตรีประจำวงปี่พาทย์  จังหวัดสุพรรณบุรี 
                ต่อมา  ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านปี่พาทย์ที่จังหวัดสมุทรสาคร  ราว  พ.ศ.  2456  ที่บ้านครูสมบุญ  สมสุวรรณ  ที่บ้านนี้มีวงปี่พาทย์และแตรวง  อาจารย์มนตรีจึงได้ฝึกทั้ง  2  อย่างคือ ด้านปี่พาทย์  ฝึกระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่  ด้านแตรวง  ฝึกเป่าคลาริเน็ต  นอกจากนี้ครูสมบุญยังได้แนะวิธีแต่งเพลงให้ด้วย
                ในปี   พ.ศ.  2460 อาจารย์มนตรี  ได้เข้ามาสมัครรับราชการในกรมพิณพาทย์หลวง  ซึ่งมีพระยาประสานดุริยศัพท์  (แปลก  ประสานศัพท์)  เป็นเจ้ากรม  ขณะที่ทำงานอยู่ก็ได้เรียนโรงเรียนพรานหลวงด้วยจนจบมัธยมศึกษาปีที่  6 
                อาจารย์มนตรี  ได้รับเลือกเป็นนักดนตรีประจำวงข้าหลวงเดิม  เป็นวงที่จะต้องตามเสด็จทุกๆแห่ง  โดยพระยาประสานดุริยศัพท์จะเป็นผู้ควบคุมทุกครั้ง  อาจารย์มนตรี  เริ่มแต่งเพลงเมื่ออายุ  20  ปี  เพลงแรกที่แต่ง  คือ  เพลงต้อยติ่ง  3  ชั้น เมื่อ  พ.ศ.  2467  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวน  แพทย์ถวายการแนะนำให้ทรงฟังนิทานหรือดนตรีเบา  ประกอบกับเสวยพระโอสถ  กรมมหรสพจึงจัดวงเครื่องสายเบาๆ บรรเลงถวาย  วงเครื่องสายนี้ได้เพิ่มขิมขึ้น  อาจารย์มนตรีได้รับหน้าที่เป็นผู้ตีขิม  ในวังหลวงเป็นคนแรก  บรรเลงถวายทุกวันจนพระอาการหายเป็นปกติ 
Read more »

ครูดนตรีไทย - พระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์)

พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี)กับนางนิ่ม เกิดเมื่อ
วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403 ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดากรุงเทพมหานคร
       ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ หนูดำส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดา) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ นายแปลกเป็นที่ขุนประสานดุริยศัพท์"นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อน บรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ พระยาประสานดุริยศัพท์เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยป ีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่าน เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่ง
ถึง กับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้ง การบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงลุกจากที่ประทับ
และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯพร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลา
พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ เพลงเชิดจั่น 3 ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ เป็นต้น
ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือพระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น
พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 105 ปี ในปี พ.ศ. 2467
Read more »

ครูดนตรีไทย - หลวงไพเราะเสียงซอ

หลวงไพเราะเสียงซอ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2435 ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา บิดาชื่อ พยอม มารดาชื่อเทียม
         ท่านเริ่มศึกษาวิชาดนตรี โดยเรียนสีซอด้วงจากบิดา ต่อมาท่านเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระบรมโอสารธิราชฯ รับราชการในกองดนตรีเมื่อ พ.ศ. 2448 ครั้นสมเด็จพระบรมฯ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาดเล็กทั้งปวงซึ่งเป็นข้าหลวงเดิม ก็ปรับตำแหน่งหน้าที่ราชการเข้าเป็นทำเนียบมหาดเล็กประจำ ท่านจึงได้รับยศเป็นมหาดเล็กวิเสส ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแปรพระราชฐาน จะต้องมีวงดนตรีตามเสด็จ จนได้รับพระราชทานยศเป็น รองหุ้มแพรมีบรรดาศักดิ์เป็นที่ ขุนดนตรีบรรเลงและในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ท่านก็ได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงไพเราะเสียงซอ    ในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้น หลวงไพเราะเสียงซอได้สอนวงดนตรีเครื่องสายของ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชเทวี วงพระสุจริตสุดา และวงพระยาอนิสุทธาทวา เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ท่านได้ถวายการสอน เจ้านายในวงเครื่องสาย ซึ่งประกอบด้วย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
มจ. ถาวรมงคล และมจ.แววจักร จักรพันธ์ นอกจากนั้นยังได้ถวายการสอนให้กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล และข้าหลวงในวังอีกด้วย   ต่อมากรมศิลปากรได้เชิญท่านให้สอนประจำที่วิทยาลัยนาฎศิลป์และสุดท้ายท่าน ยังได้สอน
และปรับปรุงวงดนตรีไทยของสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง จนทำให้วงดนตรีไทยของธรรมศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเวลาต่อมา

Read more »