วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ครูดนตรีไทย - พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระ บาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชการที่ 1 กับกรมสมเด็จพระอัมรินทรามาตย์ พระบรมราชินี
               พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้อง เป็นวรรณคดีที่มีชื่อเสียงหลายเล่ม เช่น อิเหนา รามเกียรติ์ ขุนช้างขุนแผน ทรงมีความ
สามารถในการสีซอสามสายเป็นอย่างดียิ่ง และมีซอคู่พระหัตถ์ชื่อว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงที่มีชื่อเสียงมากคือ
"
บุหลันลอยเลื่อน" ทรงเป็นผู้ตรากฏหมาย "ตราภูมิคุ้มกัน" ยกเว้นภาษีสวนมะพร้าว   หากส่วนใดมีกะโหลกมะพร้าวทำซอสามสายได้ ให้ยกเว้นภาษี นับเป็นการส่งเสริมพันธุ์ มะพร้าวเพื่อการดนตรีไทย
                พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงครองราชสมบัติเป็นเวลาทั้งสิ้น 15 ปี สวรรคต เมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2367พระชนมายุ 56 พรรษากับ 5 เดือน 
Read more »

ครูดนตรีไทย - สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ

สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์  ทรงเป็นราชโอรสองค์ที่ 62  ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 4 ประสูติเมื่อวันอังคารเดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 พระมารดาคือ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ)
                สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงมีชายา 3 ท่าน ท่านแรกคือ หม่อมราชวงศ์ปลื้มศิริวงศ์  มีธิดาด้วยกัน 1 องค์ คือ หม่อมเจ้าหญิงปลื้มจิตร (เอื้อย จิตรพงศ์) ท่านที่ 2 ได้แก่หม่อมมาลัย  เสวตามร์  มีโอรสด้วยกัน 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าชายอ้าย และหม่อมเจ้าชายยี่ และท่านที่ 3 ได้แก่ หม่อมราชวงศ์โต งอนรถ (ธิดาหม่อมเจ้าหญิงแดง งอนรถ) มีพระโอรสธิดารวมด้วยกัน 6 พระองค์ คือ หม่อมเจ้าสาม หม่อมเจ้าประโลมจิตร (อี่ ไชยันต์) หม่อมเจ้าดวงจิตร์ (อาม) หม่อมเจ้ายาใจ (ไส) หม่อมเจ้าเพลารถ (งั่ว) และหม่อมเจ้ากรณิกา (ไอ)
                พระปรีชาสามารถและผลงานด้านดนตรีไทย ทรงรอบรู้ในกิจการและวิชาการหลายสาขาวิชา เช่น ทรงรอบรู้โบราณคดี การช่างศิลปะแบบไทย ทรงศึกษาเรื่องประเพณีต่างๆ ทางตะวันออกและทรงศึกษาทางดุริยางค์ศิลป์ไทย จนมีความรู้ความสามารถอย่างดี
ทางด้านดุริยางค์ศิลป์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงต่างๆ ไว้หลายเพลง ได้แก่ เพลงสรรเสริญพระบารมี ต่อมารัชกาลที่ 6 จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขใหม่และโปรดเกล้า ให้ใช้ร้องโดยทั่วไป เพลงมหาชัยแบบสากล และเพลงไทย เช่น เพลงเขมรไทรโยค ช้าประสม 
Read more »

ครูดนตรีไทย - สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต

ทรง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระนางเจ้าสุขุมมาลมารศรี พระราชเทวี ประสูติในพระบรมมหาราชวังเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2424 นับเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าชายชั้นสูงสุดเรียงตามพระชนมายุเป็นอันดับที่ 3 รองจากสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงศึกษาวิชาการชั้นต้น ณ โรงเรียนสวนกุหลาบ จนถึง พ.ศ. 2434 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ทรงกรมเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนมไหสุริยสงขลา ต่อมา พ.ศ. 2438 ทรงได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ แล้วทรงย้ายไปเรียนวิชาทหารบกในประเทศเยอรมันนีเมื่อ พ.ศ. 2439 ศึกษาอยู่ราว 6 ปีเศษ เรียนสำเร็จสอบได้คะแนนยอดเยี่ยม แล้วเสด็จมารับราชการในปี พ.ศ. 2446 พระชันษา 22ปี
          ในด้านดนตรี ทูลกระหม่อมบริพัตรฯ ได้รับการยกย่องว่า ทรงเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงยอดเยี่ยมของกรุงรัตนโกสินทร์ นับเป็นคนไทยคนแรกที่แต่งเพลงไทยสากลและเป็นคนไทยคนแรกที่เรียนรู้โดยแยก เสียงประสานถูกต้องตามหลักสากลนิยม ดนตรีไทยที่ทรงคือ สีซอ ได้ตั้งแต่ยังมิได้โสกันต์ (ชันษาน้อยกว่า 10 ปี)  เมื่อเสด็จกลับมาเมืองไทยใน พ.ศ. 2446 ได้ทรงสร้างวังบางขุนพรหม และหาวงปี่พาทย์มาประจำวง  เดิมทีเดียวทรงใช้วงดนตรีจากอัมพวา
Read more »

ครูดนตรีไทย - พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม

          กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม  มีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์   เป็น พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  กับเจ้าจอมมารดารมรกต  ประสูติเมื่อวันที่  13  กันยายน  พ.ศ.  2425   ตรงกับวันพุธ  ขึ้น  7  ค่ำ  เดือน  10  ปีมะเส็ง  รัตนโกสินทร์ศก  101  ทรงศึกษาในประเทศอังกฤษ  เมื่อเสด็จกลับได้ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเก ษตราธิการ  ในปี  พ.ศ.  2451  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว    ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ตั้งพระเจ้าลูกยาเธอ  พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์  เป็น กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม 
                ความสามารถและผลงาน
                กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม  ทรงสนพระทัยดนตรีไทยมากถึงกับมีวงปีพาทย์วงหนึ่งเรียกกันว่า  “วงพระองค์เพ็ญ”   ทรงเป็นนักแต่งเพลงมราสามารถพระองค์หนึ่ง  โดยได้ทรงแต่งเพลง ลาวดวงเดือน”  ซึ่งเป็นเพลงที่นิยมกันแพร่หลายในปัจจุบัน
สำหรับเพลงลาวดวงเดือนนี้  พระองค์ท่านแต่งขึ้นต้องการให้มีสำเนียงลาว  เนื่องจากโปรดทำนองและลีลาเพลง  “ลาวดำเนินทราย”  เมื่อคราวที่เสด็จตรวจราชการ  ภาคอีสาน  ระหว่างที่ประทับแรมอยู่ตามทางจึงทรงแต่งเพลงลาวดวงเดือนขึ้น  เพื่อให้คู่กับเพลงลาวดำเนินทราย   ประทานชื่อว่า  “เพลงลาวดำเนินเกวียน”   ได้มีผู้กล่าวว่า  แรงบันดาลใจที่พระองค์แต่งนั้นเนื่องจากผิดหวังในความรัก  คือ  เมื่อพระองค์จบการศึกษาจากประเทศอังกฤษ  เสด็จขึ้นไปเที่ยวเชียงใหม่  และได้พบกับเจ้าหญิงชมชื่น  ธิดาเจ้าราชสัมพันธวงศ์  พระองค์สนพระทัยมากจนถึงกับให้ผู้ใหญ่ในมณฑ,พายัพเป็นเถ้าแก่เจรจาสู่ขอแต่ ได้รับคำตอบจากเจ้าราชสัมพันธวงศ์ว่าขอให้เจ้าหญิงชมชื่นอายุ  18  ปีก่อน  เพราะขณะนั้นอายุเพียง  16  ปี  และขอให้ได้รับพระบรมราชนุญาตด้วย  เมื่อกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมกลับถึงกรุงเทพฯ  ก็ได้รับการทัดทานจากพระบรมวงศานุวงศ์มาก  พระองค์ได้รับความผิดหวัง  จึงระบายความรักด้วยความอาลัยลงในพระนิพนธ์บทร้อง  “เพลงลาวดวงเดือน”  ซึ่งเป็นเพลงที่มีความหมายไพเราะอ่อนหวามจับใจผู้ฟังมาจนทุกวันนี้
พระองค์สิ้นพระชนม์ (ประชวนพระโรคปอด)  เมื่อวันที่  11  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2452  มีพระชนมายุเพียง  28  พรรษา 
Read more »

ครูดนตรีไทย - ครูมนตรี ตราโมท

          อาจารย์มนตรี  ตราโมท  เดิมชื่อ  บุญธรรม  ตราโมท  เกิดวันที่  17  มิถุนายน  พ.ศ.  2443  ที่บ้านท่าพี่เลี้ยง   อำเภอเมือง  จังหวัดสุพรรณบุรี  เป็นบุตรนายยิ้ม  และนางทองอยู่  เมื่อ  พ.ศ.  2475  สมรสกับนางสาวลิ้นจี่  (บุรานนท์)  มีบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่  2  คน  คือ  นายฤทธี  และนายศิลปี  ต่อมาเมื่อนางลิ้นจี่  ถึงแก่กรรมจึงแต่งงานกับนางสาวพูนทรัพย์  (นาฏประเสริฐ)  มีบุตร  2  คน  คือ  นางสาวดนตรี  และนายญาณี 
                ความสามารถและผลงาน
                อาจารย์มนตรี  ตราโมท  เริ่มการศึกษา   โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี  (ปรีชาพิทยากร)  สอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ภายหลังไปเรียนต่อที่โรงเรียนพรานหลวง  ในพระบรมราชูปถัมภ์  จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6
                อาจารย์มนตรี  สนใจดนตรีมาตั้งแต่เด็ก  เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ  ซึ่งที่วัดนี้มีวงปี่พาทย์และมีการฝึกซ้อมอยู่เสมอ  จึงได้ยินเสียงเพลงจากวงปี่พาทย์อยู่เป็นประจำ   จนในที่สุดได้รู้จักกับนักดนตรีในวงและขอเข้าไปเล่นด้วย  เมื่อมีการบรรเลงก็มักจะไปช่วยตีฆ้องเล็กหรือทุ้มเหล็กด้วยเสมอ 
                เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่  3  อาจารย์มนตรีตั้งใจจะมาเรียนต่อในกรุงเทพฯ  แต่บังเอญเจ็บกระเสาะกระแสะเรื่อยมา  จึงไม่ได้เรียนต่อ  ครูสมบุญ  นักฆ้องซึ่งเป็นครูปี่พาทย์ประจำวงที่วัดสุวรรณภูมิ  ชวนให้มาหัดปี่พาทย์  จึงได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมาประมาณ  2  ปี  และได้เป็นนักดนตรีประจำวงปี่พาทย์  จังหวัดสุพรรณบุรี 
                ต่อมา  ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านปี่พาทย์ที่จังหวัดสมุทรสาคร  ราว  พ.ศ.  2456  ที่บ้านครูสมบุญ  สมสุวรรณ  ที่บ้านนี้มีวงปี่พาทย์และแตรวง  อาจารย์มนตรีจึงได้ฝึกทั้ง  2  อย่างคือ ด้านปี่พาทย์  ฝึกระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่  ด้านแตรวง  ฝึกเป่าคลาริเน็ต  นอกจากนี้ครูสมบุญยังได้แนะวิธีแต่งเพลงให้ด้วย
                ในปี   พ.ศ.  2460 อาจารย์มนตรี  ได้เข้ามาสมัครรับราชการในกรมพิณพาทย์หลวง  ซึ่งมีพระยาประสานดุริยศัพท์  (แปลก  ประสานศัพท์)  เป็นเจ้ากรม  ขณะที่ทำงานอยู่ก็ได้เรียนโรงเรียนพรานหลวงด้วยจนจบมัธยมศึกษาปีที่  6 
                อาจารย์มนตรี  ได้รับเลือกเป็นนักดนตรีประจำวงข้าหลวงเดิม  เป็นวงที่จะต้องตามเสด็จทุกๆแห่ง  โดยพระยาประสานดุริยศัพท์จะเป็นผู้ควบคุมทุกครั้ง  อาจารย์มนตรี  เริ่มแต่งเพลงเมื่ออายุ  20  ปี  เพลงแรกที่แต่ง  คือ  เพลงต้อยติ่ง  3  ชั้น เมื่อ  พ.ศ.  2467  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวน  แพทย์ถวายการแนะนำให้ทรงฟังนิทานหรือดนตรีเบา  ประกอบกับเสวยพระโอสถ  กรมมหรสพจึงจัดวงเครื่องสายเบาๆ บรรเลงถวาย  วงเครื่องสายนี้ได้เพิ่มขิมขึ้น  อาจารย์มนตรีได้รับหน้าที่เป็นผู้ตีขิม  ในวังหลวงเป็นคนแรก  บรรเลงถวายทุกวันจนพระอาการหายเป็นปกติ 
Read more »

ครูดนตรีไทย - พระยาประสานดุริยศัพท์(แปลก ประสานศัพท์)

พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นบุตรคนโตของขุนกนกเรขา (ทองดี)กับนางนิ่ม เกิดเมื่อ
วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2403 ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านเลขที่ 81 ตรอกไข่ ถนนบำรุงเมือง ตำบลหลังวัดเทพธิดากรุงเทพมหานคร
       ท่านได้เรียนปี่ชวากับครูชื่อ หนูดำส่วนวิชาดนตรีปี่พาทย์อย่างอื่น ได้ศึกษาอย่างจริงจังกับครูช้อย สุนทรวาทิน (บิดา) จนบรรลุแตกฉาน ท่านเข้ารับราชการ ตั้งแต่เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระยศเป็นพระยุพราช ได้ทูลขอพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ นายแปลกเป็นที่ขุนประสานดุริยศัพท์"นับจากนั้นก็ได้รับพระราชทานเลื่อน บรรดาศักดิ์มาเป็นลำดับ จนได้เป็นที่ พระยาประสานดุริยศัพท์เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ ความรู้ความสามารถของพระยาประสานดุริยศัพท์นั้น เป็นที่กล่าวขวัญเรื่องลือว่า ท่านเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณ ไหวพริบ ท่านเป็นครู และเป็นศิลปินที่หาได้ยากยิ่ง เมื่อปี พ.ศ.2428 ท่านได้รับเลือกให้ไปร่วมฉลองครบรอบร้อยป ีของพิพิธภัณฑ์เมืองอวิมปลีย์ที่ประเทศอังกฤษผลของการบรรเลงขลุ่ยของท่าน เป็นที่พอพระราชหฤทัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียเป็นอย่างยิ่ง
ถึง กับรับสั่งขอฟังเพลงขลุ่ยเป็นการส่วนพระองค์ในพระราชวังบัคกิ้งแฮมอีกครั้ง การบรรเลงครั้งหลังนี้สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรียทรงลุกจากที่ประทับ
และใช้พระหัตถ์ลูบคอพระยาประสานฯพร้อมทั้งรับสั่งถามว่า เวลาเป่านั้นหายใจบ้างหรือไม่ เพราะเสียงขลุ่ยดังกังวานอยู่ตลอดเวลา
พระยาประสานดุริยศัพท์ได้แต่งเพลงไว้ดังนี้คือ เพลงเชิดจั่น 3 ชั้น พม่าหัวท่อน เขมรราชบุรี เขมรปากท่อ เขมรใหญ่ ถอนสมอ ทองย่อน เทพรัญจวน แมลงภู่ทอง สามไม้ใน อาถรรณ์ พราหมณ์เข้าโบสถ์ ธรณีร้องไห้ มอญร้องไห้ เป็นต้น
ความสามารถทางดนตรีของท่านนั้น ทำให้ท่านมีลูกศิษย์ที่มีความสามารถเป็นทวีคูณขึ้นไป และศิษย์ของท่านเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือพระประดับดุริยกิจ (แหยม วิณิณ) พระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน) พระยาภูมิเสวิน (จิตร จิตตเสรี) อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิม บัวทั่ง เป็นต้น
พระยาประสานดุริยศัพท์ ป่วยโดยโรคชรา และถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 105 ปี ในปี พ.ศ. 2467
Read more »

ครูดนตรีไทย - หลวงไพเราะเสียงซอ

หลวงไพเราะเสียงซอ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2435 ที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอเสนา จังหวัดอยุธยา บิดาชื่อ พยอม มารดาชื่อเทียม
         ท่านเริ่มศึกษาวิชาดนตรี โดยเรียนสีซอด้วงจากบิดา ต่อมาท่านเข้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระบรมโอสารธิราชฯ รับราชการในกองดนตรีเมื่อ พ.ศ. 2448 ครั้นสมเด็จพระบรมฯ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาดเล็กทั้งปวงซึ่งเป็นข้าหลวงเดิม ก็ปรับตำแหน่งหน้าที่ราชการเข้าเป็นทำเนียบมหาดเล็กประจำ ท่านจึงได้รับยศเป็นมหาดเล็กวิเสส ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแปรพระราชฐาน จะต้องมีวงดนตรีตามเสด็จ จนได้รับพระราชทานยศเป็น รองหุ้มแพรมีบรรดาศักดิ์เป็นที่ ขุนดนตรีบรรเลงและในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ท่านก็ได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงไพเราะเสียงซอ    ในสมัยรัชกาลที่ 6 นั้น หลวงไพเราะเสียงซอได้สอนวงดนตรีเครื่องสายของ สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรราชเทวี วงพระสุจริตสุดา และวงพระยาอนิสุทธาทวา เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ท่านได้ถวายการสอน เจ้านายในวงเครื่องสาย ซึ่งประกอบด้วย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี กรมหมื่นอนุพงศ์จักรพรรดิ์ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
มจ. ถาวรมงคล และมจ.แววจักร จักรพันธ์ นอกจากนั้นยังได้ถวายการสอนให้กับ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล และข้าหลวงในวังอีกด้วย   ต่อมากรมศิลปากรได้เชิญท่านให้สอนประจำที่วิทยาลัยนาฎศิลป์และสุดท้ายท่าน ยังได้สอน
และปรับปรุงวงดนตรีไทยของสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง จนทำให้วงดนตรีไทยของธรรมศาสตร์ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเวลาต่อมา

Read more »

ครูดนตรีไทย - พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร)

พระ ประดิษฐไพเราะนามเดิมมีดุริยางกูรเกิดตอนปลายรัชกาลที่1แห่งพระราชวงศ์จักรี ท่านเป็นครูดนตรีมาตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาล   พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 นั้น ครูมีแขกได้เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงประดิษฐไพเราะ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนพ.ศ.2396 ตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็กว่าราชการกรมปี่พาทย์ ฝ่ายพระบวรราชวัง ในปีเดียวกันนั้นเองท่านได้แต่งเพลงเชิดจีน แล้วนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด้จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นที่สมพระราช หฤทัยเป็นอย่างยิ่งจึงโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์จากหลวงเป็นพระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) ได้รับสมญาว่าเป็นเจ้าแห่งเพลงทยอย เพราะผลงานเพลงลูกล้อลูกขัด เช่น ทยอยนอก ทยอยเขมร ล้วนเป็นผลงานของท่านทั้งนั้น
          ผลงานของพระประดิษฐไพเราะ (ครูมีแขก) เท่าที่รวบรวมและปรากฎไว้ มีดังนี้ โหมโรงขวัญเมือง การะเวกเล้ก สามชั้น กำสรวลสุรางค์ สามชั้น แขกบรรทศ สามชั้น แขกมอญ สามชั้น แขกมอญบางช้าง สามชั้น ทะแย สามชั้น สารถี สามชั้น พญาโศก สามชั้น และสองชั้น พระอาทิตย์ชิงดวง สองชั้น จีนขิมใหญ่ สองชั้น เชิดจีน ทยอยนอก ทยอยเดี่ยว ทยอยเขมร   หกบท สามชั้น อาเฮีย สามชั้นท่านถึงแก่กรรม ประมาณรัชกาลที่
Read more »

ครูดนตรีไทย - พระยาเสนาะดุริยางค์

พระยา เสนาะดุริยางค์ เป็นบุตรคนโตของครูช้อย และนางไผ่ สุนทรวาทิน ได้ฝึกฝนวิชาดนตรี จากครูช้อย ผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2422 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนเสนาะดุริยางค์ในปี พ.ศ. 2446 ตำแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์หลวงจึงโปรดให้เลื่อนเป็นหลวงเสนาะดุริยางค์ในปีพ. ศ.2453ในตำแหน่งเดิมจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนเป็น พระเสนาะดุริยางค์รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาเสนาะดุริยางค์ในปี พ.ศ. 2468
          ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่วไป เช่น ครูเทียม คงลายทอง  ครูพริ้ง ดนตรีรส ครูสอน วงฆ้อง ครูมิ ทรัพย์เย็น ครูแสวง โสภา ครูผิว ใบไม ้ครูทรัพย ์นุตสถิตย ์ครูอรุณ กอนกุล ครูเชื้อ นักร้อง และครูทองสุข คำศิริพระยาเสนาะดุริยางค ์ ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2492 เมื่อมีอายุได้ 83 ปี 
Read more »

ครูดนตรีไทย - ครูเฉลิม บัวทั่ง

ครูเฉลิม  บัวทั่ง เป็นบุตรของนายปั้น และนางถนอม บัวทั่ง เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 9 ค่ำปีจอ  วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2453
         
ครู เฉลิม  บัวทั่ง ได้ชื่อว่าเป็นคนระนาดเอกฝีมือดีเยี่ยมคนหนึ่ง ครูได้รับเสนอชื่อให้ได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช   ในฐานะนักดนตรีไทยตัวอย่าง   ซึ่งมีนักดนตรีไทยที่ได้รับพระราชทานโล่ครั้งนี้ เพียง 4 คน คือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ครูเฉลิมบัวทั่ง คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ และครูบุญยงค์เกตุคง
         
ผล งานการแต่งเพลงของครูมีมากมาย เช่น โหมโรงสรรเสริญพระจอมเกล้า โหมโรงพิมานมาศ โหมโรงมหาปิยะ โหมโรงรามาธิบดี ลาวลำปางใหญ่เถา ลาวลำปางเล็กเถา ลาวกระแซะเถา ลาวครวญเถา ดอกไม้เหนือเถา เคียงมอญรำดาบเถา เขมรใหญ่เถา ลาวสอดแหวนเถา ประพาสเภตราเถา
       
นอก จากนั้น ในปี พ.ศ. 2525 ครูได้แต่งเพลงเข้าประกวดรางวัลพินทองของธนาคารกสิกรไทย  ชื่อเพลง ปิ่นนคเรศเถา ได้รับบรางวัลชนะเลิศอีกด้วย
         
ในปี พ.ศ. 2529 ครูได้รับเชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)
ครูเสียชีวิตด้วยโรงมะเร็งในปอด เมื่อ 11 มิถุนายน 2530 รวมอายุได้ 77 ปี
Read more »

ครูดนตรีไทย - ครูช้อย สุนทรวาทิน

ครู ช้อย สุนทรวาทิน เป็นครูปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นบุตรนายทั่ง สุนทรวาทิน นักดนตรีปี่พาทย์ที่สามารถผู้หนึ่งในสมัยนั้นและมีวงปี่พาทย์เป็นของตนเอง ครูช้อยแต่งงานกับนางสาวไผ่ ตั้งบ้างเรือนเป็นหลักฐานอยู่ที่ตำบลสวนมะลิ ในกรุงเทพมหานคร มีบุตรธิดา 4 คน คือ แช่ม ชื่น ชมและผิว ครูช้อยถึงแก่กรรมราวปลายสมัยรัชกาลที่ 5
ครู ช้อยมีความสามารถทางดนตรีเป็นที่อัศจรรย์นัก เนื่องจากตาบอดเมื่อครั้งเป็นไข้ทรพิษตั้งแต่ยังเล็ก ทั้งที่ยังมิได้ร่ำเรียนกับบิดาอย่างจริงจัง วันหนึ่งคนตีระนาดเอกของวงไม่สบาย ทำให้วงขาดมือระนาดเอก ครูช้อยก็สามารถเป็นคนระนาดนำวงบรรเลงสวดมนต์เย็นฉันเช้าได้ด้วยดีโดยไม่ผิด พลาดบกพร่อง เป็นเหตุให้ท่านบิดาเห็นสำคัญจนทุ่มเทถ่ายทอดวิชาให้ต่อมา เพื่อจะได้เป็นวิชาชีพเลี้ยงตัวต่อไปในภายภาคหน้า
ครู ช้อย เป็นครูดนตรีที่มีลูกศิษย์จำนวนมาก ลูกศิษย์บางคนก็กลายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง และมีความสำคัญต่อวงการดนตรีมาก เช่น พระยาประสานดุริยศัพท์ ( แปลก ประสานศัพท์ ) เจ้ากรมปี่พาทย์หลวงในรัชกาลที่ 6 พระยาเสนาะดุริยางค์ ( แช่ม สุนทรวาทิน ) บุตรชายของครูช้อยก็ได้เป็นผู้ช่วยปลัดกรมปี่พาทย์หลวงในรัชกาลที่ 6 นอกจากนี้ก็มี พระประดิบดุริยกิจ ( แหยม วิณิน ) และหลวงบรรเลงเลิศเลอ ( กร กรวาทิน ) และ ลูกศิษย์ตั้งแต่ครั้งอยู่วัดน้อยทองอยู่ ก็ได้เป็นถึงปลัดกรมปี่พาทย์หลวง และนักดนตรีอีกหลายคนของกรมปี่พาทย์หลวงในรัชกาลที่ 6 ก็เป็นลูกศิษย์ของครูช้อยด้วย นอกจากนี้ครูช้อยยังได้รับเชิญเป็นครูดนตรีตามวังเจ้านาย และบ้านของท่านผู้ใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกด้วย
ครู ช้อยได้แต่งเพลงที่ล้วนมีทำนองดีเด่นหลายเพลง เช่น เพลงครอบจักรวาล และม้ายองสามชั้น แขกลพบุรีสามชั้น เขมรปี่แก้วสามชั้น ( ทางธรรมดา ) เขมรโพธิสัตว์ โหมโรงมะลิเลื้อย พราหมณ์เข้าโบสถ์ ใบ้คลั่งสามชั้น เพลงอกทะเลสามชั้น ฯลฯ 
Read more »

ครูดนตรีไทย - ครูบุญยง เกตุคง

เกิด เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ.2463 เป็นบุตรนายเที่ยงกับนางเขียน ชาวกรุงเทพมหานคร(ฝั่งธนบุรี) ภรรยาชื่อ พายัพ มีบุตรี 1 คน มีน้องชายชื่อนายบุญยัง เกตุคง เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง
นาย บุญยงค์ เกตุคง เริ่มเรียนดนตรีกับครูทองหล่อ(ละม้าย) มีขันทอง ต่อมาได้เรียนและต่อเพลงกับครูดนตรีที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน เช่น ครูหรั่ง พุ่มทองสุข ครูชื้น ดุริยประณีต ครูชั้น ดุริยประณีต ครูเพชร จรรย์นาฏ ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และครูพุ่ม ปาปุยวาทย์ รับราชการเป็นนักดนตรีประจำวงกรมประชาสัมพันธ์ ต่อมาประจำสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม แล้วย้ายไปสังกัดกรุงเทพมหานคร และได้เป็นหัวหน้าวงดนตรีไทยกรุงเทพมหานครจนเกษียณอายุ นายบุญยงค์ เกตุคงเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในทางดนตรีอย่างยิ่ง บรรเลงปี่พาทย์ได้ทุกชนิด โดยเฉพาะระนาดเอกซึ่งได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ ร่วมบรรเลงกับวงดนตรีต่างๆ เช่นวงนายทองใบ รุ่งเรือง วงดุริยประณีต วงพาทยโกศล วงนายเพชร จรรย์นาฏ ร่วมมือกับนายบุญยัง และนายบุญสม มีสมวงศ์(พรภิรมย์) จัดตั้งคณะลิเกใช้ชื่อคณะว่า เกตุคงดำรงศิลป์ ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดลิเกทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อพ.ศ. 2500 ศิษย์ ที่มีชื่อเสียงคือ บรูซ แกสตัน( Bruce Gaston) ซึ่งเป็นนักดนตรีชาวอเมริกัน ได้ร่วมมือกันก่อตั้ง วงฟองน้ำ ขึ้นและจัดทำเพลงชุดต่างๆโดยใช้เครื่องดนตรีไทยผสมเครื่องอื่นๆ
นาย บุญยงค์ เกตุคง ได้แต่งเพลงไว้จำนวนมาก เช่น โหมโรงแว่นเทียนชัย โหมโรงจุฬามณี โหมโรงสามสถาบัน เพลงเทพชาตรี เถา เพลงสร้อยลำปาง เถา เพลงวัฒนาเวียตนาม เถา เพลงชเวดากอง เถา เพลงสยามานุสสติ เถา เพลงนกกระจอกทอง เถา เพลงขอมกล่อมลูก เถา เพลงเดือนหงายกลางป่า เถา และ เพลงตระนาฏราช
นาย บุญยงค์ เกตุคง ได้รับพระราชทานโล่ห์ เกีรยติยศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะนักดนตรีไทยตัวอย่าง เมื่อพ.ศ.2524 ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปีพ.ศ.2531 และเป็นภาคีสมาชิกประเภทวิจิตรศิลป์ สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน 
Read more »

ครูดนตรีไทย - ครูเลื่อน สุนทรวาทิน

ครู เลื่อน นับเป็นปูชนียบุคคลสำคัญของนักศึกษาและครูอาจารย์ในภาควิชาดนตรี บ้านสมเด็จฯ ท่านอุทิศกำลังกายกำลังใจในการสั่งสอนวิชาดนตรีไทยแก่ศิษย์บ้านสมเด็จอย่าง ไม่รู้เหน็ดเหนื่อย ครูเลื่อนเป็นธิดาคนที่ 2 ของพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) และคุณหญิงเสนาะดุริยางค์ (เรือน) เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2453 มีพี่สาวชื่อเลียบ และน้องสาวชื่อเจริญ (อาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน) บ้านเดิมอยู่บริเวณสระน้ำวิทยาครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปัจจุบันได้ย้ายไปอยู่ในซอยวัดประดิษฐารามหรือวัดมอญ ครูเลื่อนสมรสกับนายมิ่ง ผลาสินธุ์ มีบุตร 5 คน
ด้านการศึกษา ครูจบชั้นมัธยมปีที่ 6 จากโรงเรียนศึกษานารี และเรียนดนตรีกับบิดาที่บ้านโดยเริ่มจากการฝึกซออู้ ขลุ่ย จะเข้
พ. ศ.2503 ครูเลื่อนได้สอบบรรจุเป็นข้าราชการครู และได้รับการบรรจุที่โรงเรียนศรีอินทราทิตย์ จังหวัดสุโขทัย อยู่ที่นั่น 5 ปีก็ย้ายไปอยู่โรงเรียนบ้านสวน จังหวัดเดียวกัน และสุดท้ายย้ายไปประจำที่โรงเรียนหร่ำวิทยานุกูล จังหวัดปราจีนบุรี อยู่ที่นี่จนเกษียณอายุราชการ
พ. ศ.2526 วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้เชิญครูมาเป็นอาจารย์พิเศษฝ่ายขับร้องไทย สอนนักศึกษาดนตรีไทย ประจำภาควิชาดนตรีจนถึงปัจจุบัน 
Read more »

ครูดนตรีไทย - ครูเตือน พาทยกุล



ครู เตือน พาทยกุล เกิดที่จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันเสาร์ เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ ปีมะเส็ง ตรงกับพ.ศ.2448 เป็นบุตรของนายพร้อม กับนางตุ่น บิดาเป็นช่างทำทองและเป็นหัวหน้าวงปี่พาทย์ ครูมีน้องสาวชื่อ เติม แต่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก
ครู เตือนเริ่มเรียนดนตรีกับบิดาและปู่(ชื่อ แดง)ตั้งแต่อายุประมาณ 7 ปี หลังจากเรียนชั้นประถมปีที่ แล้ว ขณะนั้นอายุประมาณ 10 ปี บิดาก็ฝากให้เรียนดนตรีเพิ่มกับท่านครูจางวางทั่ว พาทยโกศล นอกจาก 3 ท่านที่กล่าวมา ครูเตือนยังได้ไปเรียนดนตรีเพิ่มต่อจากครูอื่นๆอีกหลายท่าน คือ ครูต้ม พาทยกุล(ปู่) พระยาเสนาะดุริยางค์(แช่ม สุนทรวาทิน) พระยาภูมีเสวิน นายเทวาประสิทธิ พาทยโกศล ครูช่อ สุนทรวาทิน ครูแถม สุวรรณเสวก หลวงไพเราะเสียงซอ(อุ่น ดูรยะชีวิน)  ครูเตือนมีความสามารถเล่นดนตรีได้รอบวง ในทางปี่พาทย์จัดว่าได้เรียนถึงระดับสูงสุดแล้ว โดยที่ถนัดสุดคือระนาดเอก
นอก จากนี้ ครูเตือนยังแต่งเพลงไว้หลายเพลง เช่นแขกมอญบางช้าง 2 ชั้นทางเปลี่ยน โหมโรงเพชรศรีอยุธยา นกจาก 2 ชั้น ลาวต่อนก เถา ลาวดำเนินทรายเที่ยวกลับ เป็นต้น
ครู เตือน พาทยกุล ถึงแก่กรรมด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต เนื่องด้วยปอด เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๖ เวลา ๑๓.๔๐ น. ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมสิริอายุได้ ๙๘ป
Read more »

ครูดนตรีไทย - นายเฉลิม ม่วงแพรศรี

นายเฉลิม ม่วงแพรศรี เกิดเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๔๘๔ ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน อายุ ๖๑ ปี
บิดาชื่อนายช่วง ม่วงแพรศรี ถึงแก่กรรม มารดาชื่อ นางพร้อม ม่วงแพรศรี อาชีพค้าขาย เป็นบุตรเพียงคนเดียว
เมื่อ นายเฉลิม ม่วงแพรศรีได้เริ่มฝึกซอด้วงกับครูจำลอง อิศรางกูร โดยเริ่มต่อเพลงแป๊ะ สามชั้น เพลงสาลิกาชมเดือน เพลงสารถี เป็นต้น ต่อมานายเฉลิม ม่วงแพรศรีได้มาพบกับหม่อนเจ้าศรีอัปสร วรวุฒิ ศักดิ์เป็นหลานพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้เล่นดนตรีไทยอยู่ในวงเตชนะเสนีย์ ท่านได้นำนายเฉลิม ม่วงแพรศรี มาพบครูโองการ กลีบชื่น ซึ่งท่านเป็นครูที่คอยดูแลวงเตชนะเสนีย์อยู่ จึงทำให้นายเฉลิม ม่วงแพรศรีได้ศึกษาและฝึกหัดอยู่กับ ครูโองการ กลีบชื่น เพลงแรกที่ต่อคือเพลงทะแย ซึ่งเป็นเพลงโหมโรง จากนั้นได้ต่อเพลงอีกเช่น เพลงมอญรำดาบ เพลงนางครวญ เพลงสุดสงวน เป็นต้น ครูโองการ กลีบชื่น เป็นครูคนแรกที่ให้โอกาสนายเฉลิม ม่วงแพรศรี ออกงานบรรเลงดนตรีที่สถานีวิทยุหนึ่ง ป.น.เชิงสะพานพุทธ ทำให้นายเฉลิม ม่วงแพรศรี ได้ฝึกฝนและหาประสบการณ์ทางเล่นซอด้วงจากครูโองการ กลีบชื่น ไว้เป็นจำนวนมาก หลังจากที่ได้ฝึกฝนซอด้วงจากครูโองการ กลีบชื่น แล้วจึงได้มาพบกับพระยาภูมิเสวิน ได้ฝึกหัดซอสามสายอย่างจริงจัง ได้ต่อเพลงขับไม้บัณเฑาะว์ ตับต้นเพลงฉิ่ง เพลงสุรินทราหู เป็นต้น ต่อจากนั้นได้รู้จัก ครูหลวงไพเราะเสียงซอ ครูเทวาประสิทธิ์ พาทย์โกศล ครูประเวช กุมุท แต่ไม่ได้มีโอกาสต่อเพลงโดยตรง เพียงแต่ใช้วิธีฟังเสียงและนำมาเป็นแนวทางฝึกฝนจนมีความชำนาญ เช่น เพลงสุรินทราหู เพลงแขกมอญ เป็นต้น
Read more »

ครูดนตรีไทย - คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง

คุณ หญิงชิ้น ศิลปบรรเลง เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๙ ปีมะเมีย ที่บ้านหน้าวังบูรพาภิรมย์ กรุงเทพฯ เป็นบุตรีของหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) และนางโชติ มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา ๗ คน ความรู้วิชาชีพศิลปะด้านต่างๆ อาทิ วิชาการฝีมือเรียนกับคุณครูนิล และคุณหญิงศรีธรรมราช (เป้า วิมุกตายน), การเขียนลายกนกศิลปะลายไทย เรียนกับหลวงวิศาลศิลปกรรม, การดนตรี เรียนกับท่านบิดาคือ หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง), เดี่ยวซอด้วง เรียนกับท่านครูพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์), ซอสามสาย เรียนกับเจ้าเทพกัญญา บูรณพิมพ์, ดนตรีสากล (ทฤษฎีโน้ตสากล) เรียนกับพระเจนดุริยางค์, คุณครูโฉลก เนตสูต, การขับร้องโน้ตสากล เรียนกับหลวงประสานบรรณวิทย์ และคุณครูนันทน์ ทรรทรานนท์, ไวโอลิน เรียนกับคุณครูกิจ สาราภรณ์, ได้รับมอบเป็นผู้อ่านโองการพิธีไหว้ครู จากท่านครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปะบรรเลง) ตั้งแต่ปี ๒๔๙๖ และสืบทอดจนตลอดชีวิตของท่าน
คุณ หญิงชิ้นเป็นศิลปินสตรีไทยตัวอย่าง ที่ได้ใช้ความรู้ความสามารถในวิชาครูอันเป็นวิชาพื้นฐานที่ได้ศึกษามาผนวก กับทักษะวิชาการดนตรีไทยที่ได้เล่าเรียนสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ในสายสกุลศิลปบรรเลงผลงานการประพันธ์ทำนองและบทร้องเพลง เป็นจำนวนมากนอกจากจะนำไปใช้ในเชิงศิลปะการแสดงแล้ว ยังก่อให้เกิดคุณประโยชน์ได้อย่างดียิ่งในวงการศึกษา คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลงถึงแก่กรรมด้วยโรคระบบหายใจล้มเหลว เมื่อวันจันทร์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่ครูอันยิ่งใหญ่เป็นครั้งสุดท้าย ด้วยการอุทิศศพให้โรงพยาบาลศิริราช เพื่อการศึกษาทางการแพทย์ 
Read more »

ครูดนตรีไทย - นางเจริญใจ สุนทรวาทิน

นาง เจริญใจ สุนทรวาริน เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๕๘ เป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญคีตศิลป์และดุริยางคศิลป์ เพียบพร้อมด้วยความรู้ลึกซึ้งในปรัชญาของดนตรีไทย อันเกี่ยวเนื่องด้วยโบราณราชประเพณี วรรณคดี ภาษา และสุนทรียภาพแห่งการผสมผสานระหว่างท่วงทำนองเพลงกับบทร้องและอารมณ์อันสม จริง เป็นผู้รอบรู้ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติการดนตรีไทย ทั้งในการขับร้อง การบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีตลอดจนการประสมวงและการใช้ดนตรีในในกิจกรรมทุก รูปแบบ สามารถอธิบายเหตุผลในการปฏิบัติการดนตรีนั้นๆ ได้อย่างเด่นชัด และด้วยความรู้ความสามารถที่ได้สั่งสมมาจากบรรพบุรุษในสายสกุล สุนทรวาทิน นับตั้งแต่เยาว์วัย ได้ทำหน้าที่นักร้องนักดนตรี และแสดงนาฏศิลป์ทั้งในราชสำนักและสถาบันอันทรงเกียรติตลอดมา เคยได้รับรางวัลนักร้องยอดเยี่ยมระดับชาติ และคงความสามารถนั้นให้เป็นประโยชน์ต่อวงการดนตรีไทยได้อย่างต่อเนื่อง มีผลงานการบันทึกเสียงไว้เป็นตัวอย่างเป็นสมบัติของชาติจำนวนมากได้ทำ หน้าที่อาจารย์สอนดนตรีและขับร้องตลอดระยะเวลากว่า ๕๐ ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงขั้นอุดมศึกษา ได้รับปริญญาศิลปะศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับว่าเป็นศิลปินที่ควรแก่การภาคภูมิใจของชาติ
นางเจริญใจ สุนทรวาริน สมควรได้รับเกียรติการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์)ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๐ 
Read more »

ครูดนตรีไทย - นายประสิทธิ์ ถาวร

นาย ประสิทธิ์ ถาวร เกิดเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๔ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นดุริยางค์ศิลปิน ประจำสำนัก แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ข้าราชการบำนาญกรมศิลปากร ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน (สาขาศิลปะ) กรรมการที่ปรึกษาหลักสูตรวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญในวิชาดนตรีไทย ทั้งในด้านทฤษฎี ปฏิบัติการประพันธ์เพลง และปรัชญาสุนทรียศาสตร์ มีความแตกฉานในศาสตร์แห่งดนตรีไทยอย่างลึกซึ้ง มีความสามารถสูงส่งในการบรรเลงระนาดเอก เป็นที่กล่าวขานและยกย่องในหมู่ผู้ชำนาญการดนตรีไทยว่าเป็นผู้มีความสามารถ บรรเลงระนาดเอกได้ทุกรสและทุกรูปแบบยากที่จะหาผู้ใดเสมอเหมือน เป็นเลิศทั้งในเชิงบรรเลง รวมวง และการบรรเลงเพลงเดี่ยว มีความรู้ความชำนาญอย่างดียิ่งในการปรับวงดนตรีไทย ตลอดจนการวิเคราะห์ดนตรีไทย มีความสามารถยอดเยี่ยมในการอธิบายและพรรณนา เชิงเปรียบเทียบโดยใช้วิธีการอุปมาอุปมัย จนผู้ฟังสามารถเข้าใจเรื่องดนตรีอันล้ำลึกได้อย่างกระจ่าง เป็นผู้เชี่ยวชาญในการถ่ายทอดความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ ไม่ว่าเป็นผู้รับจะเป็นคนกลุ่มอายุใดก็ตาม ด้วยความรู้ความสามารถที่ได้สั่งสมมาแต่เยาว์วัย ในแวดวงของครู อาจารย์ ญาติและมิตร กอปรกับการที่ได้เป็นศิษย์เอกแห่งสำนักดนตรี หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปะบรรเลง) และด้วยความช่างสังเกตศึกษาปฏิบัติทดลองด้วยตนเองจนแตกฉาน
ทำ ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ศิลปินทั้งในเชิงการประกอบอาชีพการอนุรักษ์เผยแพร่ ตลอดจนการถ่ายทอดความรู้ให้แก่อนุชนได้เป็นอย่างดี และทำหน้าที่เป็นครูดนตรีไทยเป็นเวลานานเกือบ ๕๐ ปี มีศิษย์เป็นจำนวนมากทั่วพระราชอาณาจักร และเป็นผู้เริ่มจัดการบรรเลงเพลงไทยแบบมหาดุริยางค์ตามความประสงค์ของ อาจารย์ เป็นผู้มั่นในคุณธรรม ได้ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักดนตรีไทยอย่างสม่ำเสมอ
นายประสิทธิ์ ถาวร สมควรได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๓๑ 
Read more »

วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องดนตรีไทย

เครื่องดนตรีไทย คือ เครื่องดนตรี ที่สร้างสรรค์ขึ้นตามศิลปวัฒนธรรมดนตรีของไทย ที่มีรูปแบบเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่และถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของคนไทย โดยนิยมแบ่งตามอากัปกิริยา ของการ บรรเลง เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า

เครื่องดีด



เครื่องดีดคือ เครื่องดนตรีไทยที่บรรเลงหรือเล่นด้วยการใช้นิ้วมือ หรือไม้ดีด 
ดีดสาย ให้สั่นสะเทือนจึงเกิดเสียงขึ้น เครื่องดนตรีไทยประเภทนี้มีหลายชนิด 
แต่ที่นิยมเล่น กันแพร่หลาย ในปัจจุบันมีอยู่ไม่กี่ชนิด คือ กระจับ พิณและจะเข้ 
กระจับปี่ จะเข้ ซึง พิณไหซอง




กระจับปี่ 

กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด หรือพิณ 4 สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกเป็นรูปกลมรี
แบนทั้งหน้าหลัง มีความหนาประมาณ 7 ซม. ด้านหน้ายาวประมาณ 44 ซม. กว้าง
ประมาณ 40 ซม. ท าคันทวนเรียวยาวประมาณ 138 ซม. ตอนปลายคันทวนมีลักษณะ
แบน และบานปลายผายโค้งออกไป ถ้าวัดรวมทั้งคันทวนและตัว กะโหลก จะมีความยาว


ประมาณ 180 ซม. มีลูกบิดส าหรับขึ้นสาย 4 อัน มีนมรับนิ้ว 11 นมเท่ากับจะเข้ ตรง
ด้านหน้ากะโหลกมีแผ่นไม้บางๆ ท าเป็นหย่องค้ าสายให้ตุงขึ้น เวลาบรรเลงใช้
นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ จับไม้ดีด เขี่ยสายให้เกิดเสียง


พิณ

พิณ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายแบบหนึ่ง มีหลายชนิดแตกต่างตามท้องที่ ในภาคอีสานของ
ประเทศไทย พิณอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น "ซุง" หรือ "เต่ง" จัดเป็นเครื่องดนตรี
ประเภทเครื่องสาย มีรูปร่างคล้ายกีตาร์แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปมี 3 สาย ในบางท้องถิ่นอาจมี 2 
หรือ 4 สาย บรรเลงโดยการดีดด้วยวัสดุทีเป็นแผ่นบาง เช่นไม้ไผ่เหลา หรืออาจใช้ปิ้กกีตาร์ดีดก็ได้ 
สมัยก่อนจะเล่นเครื่องเดียวเพื่อเกี้ยวสาว ปัจจุบันมักใช้บรรเลงในวงดนตรีโปงลาง วงดนตรีล าซิ่ง หรือ
วงดนตรีลูกทุ่ง



จะเข้

จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย เข้าใจว่าได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ 
กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย น ามาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก จะเข้ได้น าเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรี
คู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ท าให้กระจับปี่
ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย
ตัวจะเข้ท าเป็นสองตอน คือตอนหัวและตอนหาง โดยลักษณะทางตอนหัวเป็นกระพุ้งใหญ่ ท าด้วย
ไม้แก่นขนุน หนาประมาณ 12 ซม. ยาวประมาณ 52 ซม. และกว้างประมาณ 11.5 ซม. ท่อนหัว
และท่อนหางขุดเป็นโพรงตลอด รวมทั้งสิ้นมีความยาวประมาณ 130 – 132 ซม. ปิดใต้ทองด้วย
แผ่นไม้ มีเท้ารองตอนหัว 4 เท้า และตอนปลายปางอีก 1 เท้า วัดจากปลายเท้าถึงตอนบนของตัว
จะเข้ สูงประมาณ 19 ซม. ท าหลังนูนตรงกลางให้สองข้างลาดลง โยงสายจากตอนหัวไปทางตอน
หางเป็น 3 สาย มีลูกบิดประจ าสายละ 1 อัน สาย 1 ใช้เส้นลวดทองเหลือง อีก 2 สายใช้เส้นเอ็น มี
หย่องรับสายอยู่ตรงปลายหางก่อนจะถึงลูกบิด ระหว่างตัวจะเข้มีแป้นไม้เรียกว่า นม รองรับสาย
ติดไว้บนหลังจะเข้ รวมทั้งสิ้น 11 อัน เพื่อไว้เป็นที่ส าหรับนิ้วกดนมแต่ละอันสูง เรียงล าดับขึ้นไป 
ตั้งแต่ 2 ซม. จนสูง 3.5 ซม.
เวลาบรรเลงใช้ดีดด้วยไม้ดีดกลมปลายแหลมท าด้วยงาช้างหรือกระดูกสัตว์ เคียนด้วยเส้นด้าย
ส าหรับพันติดกับปลายนิ้วชี้ข้างขวาของผู้ดีด และใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลางช่วยจับให้มีก าลัง 
เวลาแกว่งมือส่ายไปมา ให้สัมพันธ์ กับมือข้างซ้ายขณะกดสายด้วย



ซึง

ซึงเป็นเครื่องดนตรีประเภท ดีด มี4 สาย แต่แบ่งออกเป็น2เส้น เส้นละ2สาย มีลักษณะคล้าย 
กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม 
กะโหลกมีรูปร่างกลมวัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 21 ซม ทั้งกะโหลกและคันทวน ใช้ไม้
เนื้อแข็งชิ้นเดียวคว้านตอนที่เป็นกะโหลกให้เป็นโพรง ตัดแผ่นไม้ให้กลม แล้วเจาะรูตรงกลาง
ท าเป็นฝาปิดด้านหน้า เพื่ออุ้มเสียงให้กังวาน คันทวนเป็นเหลี่ยมแบนตอนหน้า เพื่อติดตะพาน
หรือนมรับนิ้ว จ านวน 9 อัน ตอนปลายคันทวนท าเป็นรูปโค้ง และขุดให้เป็นร่อง เจาะรูสอด
ลูกบิดข้างละ 2 อัน รวมเป็น 4 อันสอดเข้าไปในร่อง ส าหรับขึ้นสาย 4 สาย สายของซึงใช้สาย
ลวดขนาดเล็ก 2 สาย และ สายใหญ่ 2 สาย ซึงเป็นเครื่องดีดที่ชาวไทยทางภาคเหนือนิยมนามาเล่นร่วมกับปี่ซอ หรือ ปี่จุ่มและ สะล้อ
แบ่งตามลักษณะได้ 3 ประเภท คือ ซึงเล็ก ซึ่งกลาง และซึงหลวง(ซึงที่มีขนาดใหญ่)
แบ่งตามประเภทได้ 2 ชนิด คือ ซึงลูก3 และซึงลูก4 (แตกต่างกันที่เสียง ลูก 3 เสียงซอลจะอยู่
ด้านล่าง ส่วนซึงลูก4 เสียงซอลจะอยู่ด้านบน)


เครื่องสี เป็นเครื่องสายที่ท าให้เกิดเสียงด้วยการใช้คันชักสีเข้ากับสายในดนตรีไทย เรียกว่า ซอ ซึ่งมีอยู่ ๓ ชนิด ด้วยกัน คือ ซอ ได้แก่ ซออู, ซอด้วง, ซอสามสาย สะล้อ

ซอด้วง 

ซอด้วงเป็นซอสองสาย มีเสียงแหลม ก้องกังวาน คันทวนยาวประมาณ 72
ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ
ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาท า ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7
ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ
งาช้างท าก็ได้
แต่ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น กะโหลกซอด้วงต้องท าด้วยไม้ล าเจียก ส่วนหน้าซอนิยมใช้
หนังงูเหลือมขึง เพราะท าให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง ลักษณะของซอ
ด้วง มีรูปร่างเหมือนกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฉิน (Huchin) ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า
ซอด้วง ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เพราะตัวด้วงดักสัตว์ ท าด้วยกระบอกไม้
ไผ่เหมือนกีน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั้นนั่นเอง
สายซอด้วงนั้น มีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง คือสายเอกจะเป็นเสียง "เร"
ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง "ซอล" โดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้
ซอด้วงใช้ในวงเครื่องสาย วงมโหรี โดยท าหน้าที่เป็นผู้น าวงและเป็นหลักในการ
ดำเนินทำนอง

ซอสามสาย
 ซอสามสาย เป็นซอชนิดหนึ่งของไทย มีมาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ นุ่มนวล
รูปร่างวิจิตรสวยงามกว่าซอชนิดอื่น ถือเป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้ในราชส านัก มีส่วนประกอบ
ดังนี้ - กะโหลก ท าด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามด้านขวาง ด้านหน้าต่อติดกับกรอบไม้เนื้อแข็ง
เดิมนิยมใช้ไม้สักเรียกว่า "ขนงไม้สัก" มีรูปร่างคล้ายกรอบหน้านาง ใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะ
ขึงปิดทับขอบขนงไม้สักและขอบกะลาให้ตึงพอดี - คันซอ แบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ทวนบน
ทวนกลาง และทวนล่าง ทวนบน คือ ส่วนที่นับจากรอบต่อเหนือรัดอกขึ้นไป ทวนกลาง คือ
ส่วนต่อจากทวนบนลงมาถึงกะโหลก ทวนล่างหรือแข้งไก่ คือ ส่วนที่ต่อจากกะโหลก ลงไป
รวมทั้งเข็มที่ท าด้วยโลหะ ซึ่งอยู่ปลายล่างสุด - ลูกบิด มีสามลูก ลูกล่างส าหรับสายเอก ลูกบน
ส าหรับสายกลาง สองลูกนี้อยู่ทางขวา ทางซ้ายมีลูกเดียว ส าหรับสายทุ้ม หรือสายสาม - รัดอก
มักใช้สายไหมฟั่นเกลียวแบบสายซอ พันรอบทวนกลาง ใช้รัดสายทั้งสาม ให้แนบเข้ากับทวน
กลาง เพื่อให้เสียงของสายเปล่าได้ระดับและมีความกังวาน - หย่อง ท าด้วยไม้หรืองา เหลาเป็น
รูปคันธนูให้ได้ขนาดพอรับสายซอทั้งสามสาย บนหย่องบากร่องไว้ สามต าแหน่ง เพื่อรอง
รับสายซอ - ถ่วงหน้า ท าด้วยแก้วหรือโลหะ ขึ้นรูปเป็นตลับกลมเล็ก ๆ ข้างบนประดับพลอยสี
ต่าง ๆ หรือถม หรือลงยา ภายในบรรจุสีผึ้งผสมตะกั่ว เพื่อให้ได้น้ าหนัก ใช้ชันปิดหน้า ใช้ปรับ
เสียงให้สายเอกเข้ากับสายทุ้ม - หนวดพราหมณ์ ใช้สายไหมฟั่นเกลียวอย่างสายซอ ผูกเป็นสาย
บ่วง ร้อยเข้าไปในรูที่ทวนล่าง เพื่อรั้งปมปลายสายซอทั้งสาม - คันชัก ท าด้วยไม้เนื้อแข็งและ
เหนียว กลึงให้ได้รูป ขึงด้วยขนหางม้าสีขาวประมาณ ๒๕๐-๓๐๐ เส้น

ซออู้ 

ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออก
เสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึงขึ้นหน้าซอ กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้
ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ท าด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่างใกล้
กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้
กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ
17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้
เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และส าหรับเป็นที่กดสายใต้รัด
อกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นท าด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้า
ประมาณ 160 - 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อท าหน้าที่เป็นหมอนหนุน สาย
ให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็น
ช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย
ซออู้มีรูปร่างคล้ายๆกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฮู้ ( Hu-hu ) เหตุที่เรียกว่าซออู้ก็เพราะ
เรียกตามเสียงที่ได้ยินนั่นเอง

สะล้อ


สะล้อเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาชนิดหนึ่ง เป็นประเภทเครื่องสีซึ่ง
มีทั้ง 2 สายและ 3 สาย คันชักส าหรับสีจะอยู่ข้างนอกเหมือนคันชักซอ
สามสาย สะล้อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทร้อ หรือ ซะล้อ มีรูปร่างคล้ายซออู้
ของภาคกลาง ใช้ไม้แผ่นบาง ๆ ปิดปากกะลาท าหลักที่หัวส าหรับพาด
ทองเหลือง ด้านหลังกะโหลกเจาะเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ เช่น รูปหนุ
มาน รูปหัวใจ ส่วนด้านล่างของกะโหลก เจาะทะลุลง ข้างล่าง เพื่อสอด
คันทวนที่ท าด้วยไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 64 ซม ตรงกลางคันทวนมีรัด
อกท าด้วยหวาย ปลายคันทวนด้านบนเจาะรูส าหรับสอดลูกบิด ซึ่งมี 2
หรือ 3 อัน ส าหรับขึงสายซอ จากปลายลูกบิดลงมาถึงด้านกลางของ
กะโหลกมีหย่องสำหรับ หนุนสายสะล้อเพื่อให้เกิดเสียงเวลาสี คันชัก
สะล้อท าด้วยไม้ดัดเป็นรูปโค้ง ขึงด้วยหางม้าหรือพลาสติก เวลาสีใช้ยาง
สนถูท าให้เกิดเสียงได้
สะล้อใช้บรรเลงประกอบการแสดงหรือบรรเลงร่วมกับบทร้องและ
ทำนองเพลงได้ทุกชนิดเช่น เข้ากับปี่ในวงช่างซอ เข้ากับซึงในวง
พื้นเมือง หรือใช้เดี่ยวคลอร้องก็ได

เครื่องเป่า
เครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีที่ท าให้เกิดเสียงจากลมเป่า อุปกรณ์ดังเดิมได้จากพืช ได้แก
หลอดไม้ต่าง ๆ และจากสัตว์ ได้แก่ เขาสัตว์ต่างๆ ต่อมาได้มีวิวัฒนาการด้วยการเจาะ
รูและท าลิ้น เพื่อให้เกิดระดับเสียงได้มาก เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ป
ชนิดต่าง ๆ และแคน เป็นต้น
ขลุ่ย ได้แก่ ขลุ่ยหลิบ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยกรวด แคน
ปี่ ได้แก่ ปี่นอก ปี่กลาง ปี่ใน ปี่ไฉน ปี่ชวา ปี่มอญ ปี่อ้อ ปี่จุม โหวด

ปี่

ปี่เป็นเครื่องดนตรีไทย ทำด้วยไม้จริงเช่นไม้ชิงชันหรือไม้พยุง กลึงให้เป็นรูปบานหัวบานท้าย ตรงกลาง
 เจาะภายในให้กลวงตลอดเลา ทางหัวของปี่เป็นช่องรูเล็กส่วนทาง ปลายของปี่ ปากรูใหญ่ใช้ชันหรือวัสด
งอื่นมาหล่อเสริมขึ้นอีกราวข้างละ ครึ่งซม ส่วนหัวเรียก ทวนบน ส่วนท้ายเรียก ทวนล่าง ตอนกลางของป
ะรูนิ้วส าหรับเปลี่ยนเสียงลงมาจำนวน 6 รู แต่สามารถเป่าได้เสียงตรง 24 เสียง กับเสียงควงหรือเสียงแทน
 เสียง รวมเป็น 32 เสียง รูตอนบนเจาะเรียงลงมา 4 รู เว้นระยะห่างเล็กน้อย เจาะรูล่างอีก 2 รู ตรงกลางของ
ปี่ กลึงขวั้นเป็นเกลียวคู่ไว้เป็นจำนวน 14 คู่ เพื่อความสวยงามและกันลื่นอีกด้วย ตรงทวนบนนั้นใส่ลิ้นปี่ท
วยใบตาลซ้อนกัน 4 ชั้น ตัดให้กลมแล้วน าไปผูกติดกับท่อลมเล็กๆที่ เรียกว่า กำพวด เรียวยาวประมาณ 5
กำพวดนี้ท าด้วยทองเหลือง เงิน นาก หรือโลหะอย่างอื่นวิธีผูกเชือกเพื่อ ให้ใบตาลติดกับก าพวดนั้น ใช้วิธ
เรียกว่า ผูกตะกรุดเบ็ด ส่วนของ กำพวดที่จะต้องสอดเข้าไปเลาปี่นั้นเขาใช้ถักหรือเคียน ด้วยเส้นด้าย สอด
เข้าไปในเลาปี่ให้พอมิดที่พันด้ายจะทำให้เกิดความแน่นกระชับยิ่งขึ้น
ปี่ของไทยจัดได้เป็น 3 ชนิด ได้แก

ปี่นอก
 มีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 31 ซม. กว้าง 3.5 ซม. เป็นปี่ที่ใช้กันมาแต่เดิม เสียงของปี่นอกจะมีเสียงที่เล็กแหลม
ปี่กลาง มีขนาดกลาง ยาวประมาณ 37 ซม. กว้างประมาณ 4 ซม. ส าหรับเล่นประกอบการแสดงหนังใหญ่ มีส าเนียงเสียง
อยู่ระหว่าง ปี่นอก กับปี่ใน เสียงของปี่กลางจะ ไม่แหลมหรือว่าต่ าเกินไปแต่จะอยู่ในระดับปานกลาง
ปี่ใน มีขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 41 – 42 ซม. กว้างประมาณ 4.5 ซม. เป็นปี่ที่พระอภัยมณีใช้ส าหรับเป่าให้นาง
ผีเสื้อสมุทร (ในวรรณกรรมของสุนทรภู่) ขาดใจตายนั่นเอง โดยเสียงของปีในจะเป็นเสียงที่ต่ า และเสียงใหญ่

ปี่นอก
ปี่นอกเป็นปี่ที่มีเสียงสูงสุดในบรรดาเครื่องเป่าตระกูลปี่ใน ลักษณะมีขนาดเล็ก
และเสียงแหลม มีความยาวประมาณ 31 เซนติเมตร มึความกว้างประมาณ 3.5
เซนติเมตร มีลักษณะบานหัวบานท้ายเช่นเดียวกับปี่ใน บริเวณเลาปี่ที่ป่องเจาะ
รู 6 รู ปี่นอกใช้เล่นในวงปี่พาทย์ไม้แข็งและวงปี่พาทย์ชาตร

ปี่ใน
ปี่ใน เป็นปี่ที่มีขนาดใหญ่และมีเสียงต่ำ ในบรรดาเครื่องเป่าที่มีลิ้นตระกูลปี่ใน ลักษณะเป็นปี่
ท่อนเดียว ลำปี่ที่ทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงเรียกว่า"เลา"
เลาปี่ทำมาจากไม้ เช่น ไม้พยุง ไม้ชิงชัน มีความยาวประมาณ 52 เซนติเมตร ความกว้าง
ประมาณ 4 เซนติเมตร มีลักษณะหัวบานท้ายและป่องตรงกลาง เจาะรูกลางตลอดเลา ด้านบน
มีรูเล็กใช้เสียบลิ้นปี่ ด้านล่างรูจะใหญ่ บริเวณเลาปี่ที่ป่องตรงกลางจะเจาะรู 6 รู ลิ้นปี่ท าจาก
ใบตาลน ามาตัดซ้อนกัน 4 ชั้น ตัดผูกกับท่อทองเหลืองเล็กๆ เรียกว่า"กำพวด"
ปี่ในใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์

ปี่ชวา 
ปี่ชวา เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่มีลิ้น เข้าใจว่าเมืองไทยรับมาในคราวเดียวกับกลองแขก
ส่วนประกอบของปี่ชวามีดังนี้
ปี่ชวาใช้ในการบรรเลงในวงบัวลอย วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงเครื่องสายปี่ชวา
นอกจากนี้ปี่ชวายังใช้ในการเป่าประกอบการรำกระบี่กระบองและการชกมวยอีกด้วย

ปี่มอญ
ปี่มอญ เป็นเครื่องเป่าในตระกูลปี่ ไทยได้แบบอย่างมาจากมอญ ปี่ชนิดนี้แบ่งเป็น 2 ท่อน ท่อน
แรกเรียกว่า"ตัวเลา" ทำด้วยไม้จริง กลึงให้กลมเรียวยาว ภายในโปร่งตลอด ตอนปลายกลึงผาย
ออกเล็กน้อย ถัดลงมากลึงเป็นลูกแก้วคั่นส าหรับผูกเชือกโยงกับตัวล าโพง ที่ตัวเลาด้านหน้า
เจาะรู 7 รู เรียงตามล าดับเพื่อเปิดปิดนิ้วบังคับเสียง ด้านหลังตอนบนเจาะอีก 1 รูเป็น"รูนิ้วคำ" อี
ท่อนหนึ่งเรียกว่าลำโพง ท าด้วยทองเหลืองหรือสแตนเลส ลักษณะคล้ายดอกล าโพง แต่ใหญ่
กว่า ปลายผายบานงุ้มขึ้น ตอนกลางและตอนปลายตีเป็นลูกแก้ว ตัวเลาปี่จะสอดใส่เข้าไปใน
ลำโพง โดยมีเชือกเคียนเป็นทักษิณาวัฏ ในเงื่อน"สับปลาช่อน" ยึดระหว่างลูกแก้วล าโพงปี่กับ
ลูกแก้วตอนบนของตัวเลาปี่ เพื่อไม่ให้หลุดออกจากกันง่ายๆ
เนื่องจากว่าปี่มอญมีขนาดใหญ่และยาวกว่าปี่อื่นๆ ทำให้กำพวดของปี่จึงต้องยาวไปตามส่วน
โดยมีความยาวประมาณ 8-9 ซม. และเขื่องกว่าก าพวดของปี่ชวา และมีแผ่นกระบังลม
เช่นเดียวกับปี่ชวาและปี่ไฉน
ปี่มอญใช้เล่นในวงปี่พาทย์มอญและเล่นประกอบเพลงออกภาษาในภาษามอญ

แคน 

แคน เป็นเครื่องเป่าพื้นเมืองของชาวอีสานเหนือที่ใช้ไม้ซางขนาดต่าง ๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัว
แคน แคนเป็นสัญลักษณ์ของภาคอีสาน เป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไป
ตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร
แคนมีหลายขนาด บางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย แคนมีหลายประเภทตามจำนวนลูกแคน คือ
1.แคนหก มีลูกแคน 3 คู่ (6 ลูก) เป็นแคนขนาดเล็กที่สุด ส าหรับเด็กหรือผู้เริ่มฝึกหัดใช้เป่าเพลงง่าย
ๆ เพราะเสียงไม่ครบ
2.แคนเจ็ด มีลูกแคน 7 คู่ (14 ลูก) เป็นแคนขนาดกลาง มีเสียงครบ 7 เสียง ตามระบบสากล และมี
ระดับเสียงสูง ต่ า ทั้ง 7 เสียง หรือที่เรียกว่า คู่แปด คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที (คู่แปด คือทุกเสียง
เช่นเสียงโด ก็จะมีทั้งเสียงโดสูง และโดต่ า ทุกเสียงมีคู่เสียงทั้งหมด)
3.แคนแปด ใหญ่กว่าแคนเจ็ด มีลูกแคน 8 คู่ (16 ลูก) คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เพิ่มคู่เสียง
ระดับสูงขึ้นไปให้เป็นเสียงประสานในการเล่นเพลงพื้นเมือง
4.แคนเก้า มีลูกแคน 9 คู่ (18 ลูก) ใหญ่ที่สุด เวลาเป่าต้องใช้ลมมากจึงไม่ค่อยมีคนนิยม ในเรื่อง
ระดับเสียงของแคนเหมือนระบบเสียงดนตรีสากลนั้น เป็นเรื่องน่าสนใจ น่าที่จะได้ศึกษากันต่อไป
ว่าเพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น ในขณะที่ดนตรีไทยไม่มีขั้นครึ่งเสียง และเพลงพื้นเมืองอีสานใช้เพียง
5 ขั้น คือ โด เร มี ซอล ลา ไม่มีเสียงฟา และ ที

ขลุ่ยเพียงออ

ขลุ่ยเพียงออ เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ
ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน ส าหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งท าด้วยไม้อุด
เหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ ๒ นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดาก
เป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกท าให้เกิดเสียงขลุ่ย
ลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ าตาม
ต้องการใตปากนกแก้วลงมาเจาะ ๑ รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เวลาเป่าต้องใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ บาง
เลาด้านขวาเจาะเป็นรูเยื่อ ปลายเลาขลุ่ยมีรู ๔ รู เจาะตรงกันข้ามแต่เหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้ส าหรับ
ร้อยเชือกแขวนเก็บหรือคล้องมือจึงเรียกว่า รูร้อยเชือก รวมขลุ่ยเลาหนึ่งมี ๑๔ รูด้วยกัน
รูปร่างของขลุ่ยเมือพิจารณาแล้วจะเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จากหลักฐานที่พบขลุ่ย
ในหีบศพภรรยาเจ้าเมืองไทยที่ริมฝั่งแม่น้ำฮวงเหอ ซึ่งมีหลักฐานจารึกศักราชไว้ไม่ต่ ากว่า ๒,๐๐๐
ปี ปัจจุบันขลุ่ยมีราคาสูง เนื่องจากไม้รวกชนิดที่ทำขลุ่ยมีน้อยลงและใช้เวลาทำมากจึงใช้วัตถุอื่นมา
เจาะรูซึ่งรวดเร็วกว่า เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้ชิงชัน ไม้พยุง บางครั้งอาจทำจากท่อพลาสติกแต่
คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าขลุ่ยไม้ ขลุ่ยที่มีเสียงไพเราะมากส่วนใหญ่จะเป็นขลุ่ยผิวไม้แห้งสนิท

ขลุ่ยหลิบ
ขลุ่ยหลิบจัดเป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดใบรรดาขลุ่ยไทยทั้งหมด มีความยาว
ประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูง ใช้ในการบรรเลงในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่อง
ใหญ่ และวงเครื่องสายเครื่องคู่ โดยเป็นเครื่องน าในวงเช่นเดียวกับระนาด
หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็น
พวกหลังเช่นเดียวกับซออู้

เครื่องตี
เครื่องตี เป็นเครื่องดนตรีที่ท าให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี
นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์
ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ ส าหรับเครื่องดนตรีไทย ที่เป็น
ประเภทเครื่องตีมีดังนี้
กลองแขก กลองสะบัดชัย กลองสองหน้า กลองทัด กลองมลายู กลองยาว กลองมโหระทึก
กรับได้แก่ กรับเสภา, กรับพวง ฯลฯ ขิม ฆ้องมอญ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงใหญ่
ฉาบ ได้แก่ ฉาบเล็ก, ฉาบใหญ ฯลฯ ฉิ่ง
ตะโพน ได้แก่ ตะโพนไทย, ตะโพนมอญ
โทน โปงลาง ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ระนาดเอก
ระนาดเอกเหล็ก ร ามะนา อังกะลุง เปิงมาง โหม่ง

ระนาดเอก
 ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็น
จังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้
มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วท ารางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้
ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง น าตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยน ามาติดหัว
ท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า
ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน
ลูกระนาดนี้ท าด้วย ไม้ชิงชัน หรือไม้แก่น เช่น ไม้ไผ่บง ไม้มะหาด ไม้พะยูงก็ได้ โดยน ามา
เหลาให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ แล้วท ารางเพื่ออุ้มเสียงเป็นรูปคล้ายล าเรือ ให้หัวและท้ายโค้ง
ขึ้น เรียกว่า รางระนาด แผ่นไม้ที่ปิดหัวท้ายรางระนาดเราเรียกว่า โขน ระนาดเอกในปัจจุบันมี
จ านวน 21 ลูก ลูกต้นมีขนาด 39 ซม กว้างราว 5 ซม และหนา 1.5 ซม มีขนาดลดหลั่นลงไป
จนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอดที่มีขนาด 29 ซม เมื่อน าผืนระนาด มาแขวนบนรางแล้ว หากวัดจาก
โขนหัวรางข้างหนึ่งไปยังโขนหัวรางอีกข้างหนึ่ง จะมีความยาวประมาณ 120 ซม มีเท้ารองราง
เป็นเท้าเดี่ยว รูปคล้ายกับพานแว่นฟ้า
ระนาดเอกใช้ในวงปี่พาทย์และวงมโหรี โดยท าหน้าที่เป็นผู้นำ

ระนาดทุ้ม 

ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสร้าง
เลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจ านวน 17 หรือ 18
ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34
ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง
โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้าน
หนึ่ง รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปาก รางกว้างประมาณ 22 ซม มีเท้าเตี้ย
รองไว้ 4 มุมราง
หน้าที่ในวงของระนาดทุ้มนั้น ท าหน้าที่เดินท านองรอง ในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะ
โยน ล้อ ขัด ที่ท าให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์
เฉพาะตัวของระนาดทุ้ม

กรับ
 กรับ เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งกรับนั้นมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ กรับคู่ กรับพวง และกรับเสภา
  กรับคู่  ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีก เหลาให้เรียบและเกลี้ยงอย่าให้มีเสี้ยน มีรูปร่างแบนตามซีกไม้ไผ่
หนาตามขนาดของเนื้อไม้ยาวประมาณ 40 ซม ทำเป็น 2 อันหรือเป็นคู่ ใช้ตีให้ผิวกระทบกันทางด้านแบน
เกิดเป็นเสียง กรับ
   กรับพวง เป็นกรับชนิดหนึ่งตอนกลางทำด้วยไม้บางๆหรือแผ่นทองเหลือง หรืองาหลายๆอัน
และทำไม้แก่น 2 อันเจาะรูตอนหัวร้อยเชือกประกบไว้ 2 ข้างเหมือนด้ามพัด เวลาตีใช้มือหนึ่งถือตรงหัว
ทางเชือกร้อย แล้วฟาดลงไปบนอีกฝ่ามือหนึ่ง เกิดเป็นเสียงกรับขึ้นหลายเสียง จึงเรียกว่ากรับพวงใช้เป็น
อานัตสัญญาณ เช่นในการเสด็จออกในพระราชพิธีของพระเจ้าแผ่นดิน เจ้าพนักงานจะรัวกรับ และใช้กรับ
พวงตีเป็นจังหวะ ในการขับร้อง เพลงเรือ ดอกสร้อยและใช้บรรเลงขับร้องในการแสดง นาฎกรรมด้วย
   กรับเสภา ทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชัน ยาวประมาณ 20 ซม หนาประมาณ 5 ซม เหลาเป็นรูป 4
เหลี่ยมแต่ลบเหลี่ยม ออกเพื่อมิให้บาดมือและให้สามารถกลิ้งตัวของมันเองกลอก กระทบกันได้
โดยสะดวก ใช้บรรเลงประกอบในการขับเสภา เวลาบรรเลงผู้ขับเสภาจะใช้กรับเสภา 2 คู่ รวม 4 อัน ถือ
เรียงกันไว้บนฝ่ามือของตนข้างละคู่ กล่าวขับเสภาไปพลาง มือทั้ง 2 ข้างก็ขยับกรับแต่ละข้างให้กลอก
กระทบกันเข้าจังหวะ กับเสียงขับเสภา จึงเรียกกรับชนิดนี้ว่า กรับเสภา

ระนาดเอกเหล็ก

ระนาดเอกเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่
เดิมลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันว่าระนาดทอง ในเวลาต่อมาได้มีการประดิษฐ์
ลูกระนาดด้วยเหล็ก ระนาดเอกเหล็กมีจ านวน 20 หรือ 21 ลูก โดยวางไว้บนรางที่มีไม้
ระกำวางพาดไปตามของราง หากไม่มีไม้ระก า ก็อาจใช้ผ้าพันไม้แล้วน ามารองลูกระนาดก็
ได้ ลูกต้น ของระนาดเอกเหล็กมีขนาด 23.5 ซม กว้างประมาณ 5 ซม ลดหลั่นขึ้นไปจนถึง
ลูกยอดที่มีขนาด 19 ซม กว้างประมาณ 4 ซม รางของระนาดเอกเหล็กนั้น ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเท้ารองรับไว้ทั้ง 4 ด้านหรืออาจใส่ลูกล้อเพื่อสะดวกในการขนย้ายก็ได้
ระนาดเอกเหล็กบรรเลงเหมือนระนาดเอกทุกประการ เพียงแต่ไม่ได้ทำหน้าที่ผู้นำ

ระนาดทุ้มเหล็ก

ระนาดทุ้มเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 4 มี
พระราชด าริให้สร้างขึ้น ลูกระนาดทำอย่างเดียวกับระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กมีจ านวน 16
หรือ 17 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 35 ซม กว้างประมาณ 6 ซมและลดหลั่นลงไปจนถึงลูกยอดซึ่งยาว
ประมาณ 29 ซม กว้างประมาณ 5.5 ซม ตัวรางระนาดยาวประมาณ 1 เมตร ปากราง กว้างประมาณ
20 ซม มีชานยื่นออกไปสองข้างราง ถ้านับส่วนกว้างรวมทั้งชานทั้งสองข้างด้วย รางระนาดทุ้ม
เหล็กจะกว้าง ประมาณ 36 ซม มีเท้ารองติดลูกล้อ 4 เท้า เพื่อให้เคลื่อนที่ไปมาได้สะดวก ตัวรางสูง
จากพื้นถึงขอบบนประมาณ 26 ซมระนาด ทุกชนิดที่กล่าวมานั้น จะใช้ไม้ตี 2 อัน
ระนาดทุ้มเหล็กท าหน้าที่เดินท านองคล้ายฆ้องวงใหญ่ เพียงแต่เดินทำนองห่างกว่า

ฆ้องวงใหญ่ 

ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากฆ้องรางของอินโดนีเซีย สันนิษฐานว่ามีมา
ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนประกอบของฆ้องวงใหญ่ประกอบด้วยลูกฆ้องและวงฆ้อง ลูกฆ้องมี
16 ลูกท าจากทองเหลือง เรียงจากลูกเล็กด้านขวา วงฆ้องสูงประมาณ 24 เซนติเมตร ใช้หวาย
โป่งท าเป็นราง ให้หวายเส้นนอกกับเส้นในห่างกัน 14-17 เซนติเมตร ใช้หวาย 4 อัน ด้านล่าง
2 อันขดเป็นวงขนานกัน เว้นที่ไว้ให้นักดนตรีเข้าไปบรรเลง
ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุด เพราะคนที่จะเล่นดนตรีในวงปี่พาทย์ต้องมาเรียน
ฆ้องวงใหญ่ก่อน ฆ้องวงใหญ่ทำหน้าที่เดินทำนองหลัก ซึ่งถือเป็นแม่บทของเพลง
ฆ้องวงใหญ่ใช้เล่นในวงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงมโหร

ฆ้องวงเล็ก

ฆ้องวงเล็กเป็นเครื่องดนตรีไทยสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 มีลักษณะเหมือนกับฆ้องวง
ใหญ่ แต่ลูกฆ้องมีขนาดเล็กกว่า มีลูกฆ้อง 18 ลูก บรรเลงทำนองคล้ายระนาดเอก แต่
ตีเก็บถี่กว่าระนาดเอก
ฆ้องวงเล็กใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงมโหรี



ฉิ่ง
 ฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทตี ท าด้วยทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม 1 ชุด มี 2 ฝา ฉิ่งมี
2 ชนิดคือ ฉิ่งส าหรับวงปี่พาทย์ และ ฉิ่งที่ใช้ส าหรับวงเครื่องสายและวงมโหรี ฉิ่งส าหรับวงปี่
พาทย์มีขนาดที่วัดฝ่านศูนย์กลาง จากขอบข้างหนึ่งไปสุดขอบอีกข้างหนึ่ง กว้างประมาณ 6 –
6.5 ซม เจาะรูตรงกลางส าหรับร้อยเชือก เพื่อให้จับสะดวกขณะตี ส่วนฉิ่งส าหรับวงเครื่องสาย
และวงมโหรีนั้น มีขนาดเล็กกว่า วัดผ่านศูนย์กลางได้ขนาดประมาณ 5.5 ซม
เนื่องจากการตีฉิ่ง ต้องเอาขอบของฝาข้างหนึ่งกระทบกับอีกฝากหนึ่ง แล้วยกขึ้น ก็จะมีเสียงดัง
กังวานยาวดัง ฉิ่ง แต่ถ้าเอาทั้ง 2 ฝานั้นกระทบและประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงดังสั้นๆดัง ฉับ
ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า ฉิ่ง ก็เพราะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นนั่นเอง

ฉาบ

ฉาบเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ทำด้วยโลหะคล้ายฉิ่ง แต่หล่อให้บางกว่า ฉาบมี 2 ชนิดคือฉาบ
เล็ก และ ฉาบใหญ่ ฉาบเล็กมีขนาด ที่วัดผ่านศูนย์กลางประมาณ 12 –14 ซม ส่วนฉาบใหญ่มี
ขนาดที่วัดผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 24 –26 ซม เวลาบรรเลงใช้ 2 ฝามาตีกระทบกันให้เกิดเสียง
ตามจังหวะ เมื่อฉาบทั้งสองข้างกระทบกันขณะตีประกบกันก็ จะเกิดเสียง ฉาบ แต่ถ้าตีแล้วเปิด
เสียงก็จะได้ยินเป็น แฉ่ง แฉ่ง แฉ่ง เป็นต้น

กลองแขก
 กลองแขกเป็นเครื่องดนตรีประเภทตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรงกระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนัง
ลูกวัวหรือหนังแพะหน้าใหญ่ กว้างประมาณ 20 ซม เรียกว่า หน้ารุ่ย ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ
17 ซม เรียกว่า หน้าด่าน ตัวกลองแขกทำด้วยไม้แก่น เช่นไม้ชิงชันหรือไม้มะริด การขึ้นหนังใช้
เส้นหวายผ่าซีกเป็นสายโยงเร่งเสียง โยงเส้นห่าง ๆ ในปัจจุบันอาจใช้เส้นหนังแทนเนื่องจากหา
หวายได้ยาก กลองแขกสำหรับหนึ่งมี 2 ลูก ลูกเสียงสูงเรียก ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียก ตัวเมีย ตีด้วยฝ่า
มือทั้งสองข้างให้สอดสลับกันทั้งสองลูก

ตะโพน

ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ตัวตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า หุ่น ขุดแต่งให้
เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง 2 หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงเรียกว่า หนังเรียด หน้าใหญ่มีความ
กว้างประมาณ 25 ซม เรียกว่า หน้าเท่ง ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้า
หนึ่งเล็กกว่ามีขนาดประมาณ 22 ซม เรียกว่า หน้ามัด ตัวกลองยาวประมาณ 48 ซม รอบ ๆ
ขอบหนังที่ขึ้นหน้า ถักด้วยหนังที่ตีเกลียวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า ไส้ละมาน แล้วจึงเอาหนังเรียด
ร้อยในช่วงของไส้ละมานทั้งสองข้าง โยงเรียงไปโดยรอบจนมองไม่เห็นไม้หุ่น มีหนังพันตรง
กลางเรียกว่า รัดอก ข้างบนรัดอกทำเป็นหูหิ้วและมีเท้ารองให้ ตัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้า ใช้ฝ่า
มือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า ใช้สำหรับบรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ
ต่าง ๆ
ตะโพนนี้ ถือเป็นบรมครูทางดุริยางคศิลป์ นับว่าพระประโคนธรรพ เป็นครูตะโพน เมื่อจะเริ่มการ
บรรเลง จะต้องนำดอกไม้ธูปเทียน บูชาตะโพนก่อนทุกครั้ง และถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา เหต
ที่ต้องกราบใหว้บูชาก็เพราะ ตะโพนเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงร่วมกับ สังข บัณเฑาะว์ และ
มโหระทึก ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำองค์ของเทพเจ้า และสมมุติเทพ ดังนี้คือ สังข์ประจำพระองค
พระนารายณ์ และพระอินทร์ บัณเฑาะว์ ประจำองค์พระอิศวร มโหระทึก เป็นเครื่องดนตรีบรรเลง
ประกอบพระอิศริยยศองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสมมุติเทพส่วนตะโพนนั้นเป็นกลองที่พระ
คเณศได้เป็นผู้ตีเป็นคนแรก ดังนั้น ตะโพนเมื่อนำมาร่วมบรรเลงในวงปี่พาทย์ จึงถือเป็นบรมครู
และทำหน้าที่กำกับหน้าทับต่างๆทั้งหมด

กลองทัด
 กลองทัด เป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่ ขึ้นหน้าทั้งสองข้างด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ตรึง
ด้วยหมุด หุ่นกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง กลึงคว้านข้างในจนเป็นโพรง ป่องตรงกลางนิดหน่อย
หมุดที่ตรึง หนังเรียกว่าแส้ ทำด้วยไม้หรืองาหรือกระดูกสัตว์ตรงกลางหุ่น กลองมีห่วง
ส าหรับแขวน เรียกว่า หูระวิง กลองทัดมีขนาดหน้ากว้างเท่ากันทั้งสองข้าง วัด
เส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 46 ซม ตัวกลองยาวประมาณ 41 ซม กลองทัดมี 2 ลูก ลูกที่มี
เสียงสูง ดัง ตุม เรียกว่า ตัวผู้ และ ลูกที่มีเสียงต่ำตีดัง ต้อม เรียกว่า ตัวเมีย ใช้ไม้ตี 1 คู่ มี
ขนาดยาวประมาณ 54 ซม
กลองทัดใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ โดยเล่นคู่กับตะโพน

กลองสองหน้า 

กลองสองหน้า สันนิษฐานว่าเริ่มน ามาใชในสมัยรัชกาลที่ 2 มีลักษณะคล้ายลูกเปิงมาง
แต่ใหญ่กว่า หน้ากลองด้านกว้างเส้นผ่าศูนย์กลาง 21-24 เซนติเมตร ด้านเล็ก
ส้นผ่าศูนย์กลาง 20-22 เซนติเมตร ตัวกลองยาว 55-58 เซนติเมตร ใช้ในวงปี่พาทย์เสภา
และใช้ตีประกอบจังหวะการเดี่ยวเครื่องดนตรีต่างๆด้วย



โทน 
 โทนเป็นชื่อของเครื่องหนัง ที่ขึงหนังหน้าเดียว มีสายโยงเร่งเสียงจากขอบหนังถึงคอ มีหางยื่น
ออกไปและบานปลาย มีชื่อเรียกคู่กันว่า โทนทับ โดยลักษณะรูปร่างนั้น โทนมีชื่อเรียกกันได้
ตามรูปร่างที่ปรากฏ 2 ชนิดคือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี
โทนชาตรีนั้น ตัวโทนท าด้วยไม้ขนุน ไม้สัก หรือ ไม้กะท้อนมีขนาดปากกว้าง 17 ซม ยาว
ประมาณ 34 ซม มีสายโยงเร่งเสียงใช้หนังเรียด ตีด้วยมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกมือหนึ่งคอยปิดเปิด
ปลายหางที่เป็นปากลำโพง ช่วยให้เกิดเสียงต่างๆ ใช้ส าหรับ บรรเลงประกอบการแสดงละคร
ชาตรี และหนังตะลุง และตีประกอบจังหวะในวงปี่พาทย์ หรือวงเครื่องสาย หรือวงมโหรีที่เล่น
เพลงภาษาเขมร หรือ ตะลุง
ส่วนโทนมโหรีนั้น ตัวโทนทำด้วยดินเผา ด้านที่ขึงหนังโตกว่า โทนชาตรี ขนาดหน้ากว้าง
ประมาณ 22 ซม ยาวประมาณ 38 ซม สายโยงเร่งเสียงใช้หวายผ่าเหลาเป็นเส้นเล็กหรือใช้ไหม
ฟั่นเป็นเกลียว ขึ้นหนังด้วยหนังลูกวัว หนังแพะ หนังงูเหลือม หรือหนังงูงวงช้าง ใช้สำหรับ
บรรเลงคู่กับรำมะนา โดยตีขัดสอดสลับกัน ตามจังหวะหน้าทับ

รำมะนา

รำมะนา เป็นกลองที่ขึงหนังหน้าเดียว หน้ากลองที่ขึงหนังผายออก ตัวกลองสั้น รูปร่างคล้าย
ชามกะละมัง มีอยู่ 2 ชนิด คือ "รำมะนามโหรี" และ "รำมะนาลำตัด"
รำมะนามโหรี มีขนาดเล็ก หน้ากว้างประมาณ 26 ซม ตัวรำมะนายาว ประมาณ 7 ซม หนังที่
ขึ้นหน้าตรึงด้วยหมุดโดยรอบ จะเร่งหรือลดเสียงให้สูงต่ำไม่ได้ แต่มีเชือกเส้นหนึ่งที่เรียกว่า
สนับ ส าหรับหนุนข้างในโดยรอบ ช่วยท าให้เสียงสูงได้ บรรเลงใช้ตีด้วยฝ่ามือคู่กับโทนมโหรี
ส่วน รำมะนาำ ลำตัด มีขนาดใหญ่ หน้ากว้างประมาณ 48 ซม. ตัวรำมะนายาวประมาณ 13 ซม.
ขึ้นหนังหน้าเดียว โดยใช้เส้นหวายผ่าซีกโยงระหว่างขอบปน้ากับวงเหล็กซึ่งรองก้นใช้เป็น
ขอบ ของตัวรำมะนา และใช้ลิ่มหลายๆ อันตอกเร่งเสียงระหว่างวงเหล็กกับก้นร ามะนา
รำมะนาชนิดนี้เข้าใจว่าได้แบบอย่างมาจากชวาและเข้ามาแพร่หลายในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้
ประกอบการเล่นลำตัดและลิเก ลำตัด ในการประกอบการเล่นลำตัดนั้นจะใช้รำมะนากี่ลูกก็ได้
โดยให้คนตีนั่งล้อมวงและเป็นลูกคู่ร้องไปด้วย

กลองสะบัดชัย 

กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึก
สงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัย
ชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร
การตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวน
แห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมี
การใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ท าให้การ
แสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางใน
ปัจจุบัน
Read more »