สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงเป็นราชโอรสองค์ที่ 62 ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประสูติเมื่อวันอังคารเดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุน ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 พระมารดาคือ พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย (ทรงพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าจิตรเจริญ)
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงมีชายา 3 ท่าน ท่านแรกคือ หม่อมราชวงศ์ปลื้มศิริวงศ์ มีธิดาด้วยกัน 1 องค์ คือ หม่อมเจ้าหญิงปลื้มจิตร (เอื้อย จิตรพงศ์) ท่านที่ 2 ได้แก่หม่อมมาลัย เสวตามร์ มีโอรสด้วยกัน 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าชายอ้าย และหม่อมเจ้าชายยี่ และท่านที่ 3 ได้แก่ หม่อมราชวงศ์โต งอนรถ (ธิดาหม่อมเจ้าหญิงแดง งอนรถ) มีพระโอรสธิดารวมด้วยกัน 6 พระองค์ คือ หม่อมเจ้าสาม หม่อมเจ้าประโลมจิตร (อี่ ไชยันต์) หม่อมเจ้าดวงจิตร์ (อาม) หม่อมเจ้ายาใจ (ไส) หม่อมเจ้าเพลารถ (งั่ว) และหม่อมเจ้ากรณิกา (ไอ)
พระปรีชาสามารถและผลงานด้านดนตรีไทย ทรงรอบรู้ในกิจการและวิชาการหลายสาขาวิชา เช่น ทรงรอบรู้โบราณคดี การช่างศิลปะแบบไทย ทรงศึกษาเรื่องประเพณีต่างๆ ทางตะวันออกและทรงศึกษาทางดุริยางค์ศิลป์ไทย จนมีความรู้ความสามารถอย่างดี
ทางด้านดุริยางค์ศิลป์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงต่างๆ ไว้หลายเพลง ได้แก่ เพลงสรรเสริญพระบารมี ต่อมารัชกาลที่ 6 จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขใหม่และโปรดเกล้า ให้ใช้ร้องโดยทั่วไป เพลงมหาชัยแบบสากล และเพลงไทย เช่น เพลงเขมรไทรโยค ช้าประสม
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงมีชายา 3 ท่าน ท่านแรกคือ หม่อมราชวงศ์ปลื้มศิริวงศ์ มีธิดาด้วยกัน 1 องค์ คือ หม่อมเจ้าหญิงปลื้มจิตร (เอื้อย จิตรพงศ์) ท่านที่ 2 ได้แก่หม่อมมาลัย เสวตามร์ มีโอรสด้วยกัน 2 องค์ คือ หม่อมเจ้าชายอ้าย และหม่อมเจ้าชายยี่ และท่านที่ 3 ได้แก่ หม่อมราชวงศ์โต งอนรถ (ธิดาหม่อมเจ้าหญิงแดง งอนรถ) มีพระโอรสธิดารวมด้วยกัน 6 พระองค์ คือ หม่อมเจ้าสาม หม่อมเจ้าประโลมจิตร (อี่ ไชยันต์) หม่อมเจ้าดวงจิตร์ (อาม) หม่อมเจ้ายาใจ (ไส) หม่อมเจ้าเพลารถ (งั่ว) และหม่อมเจ้ากรณิกา (ไอ)
พระปรีชาสามารถและผลงานด้านดนตรีไทย ทรงรอบรู้ในกิจการและวิชาการหลายสาขาวิชา เช่น ทรงรอบรู้โบราณคดี การช่างศิลปะแบบไทย ทรงศึกษาเรื่องประเพณีต่างๆ ทางตะวันออกและทรงศึกษาทางดุริยางค์ศิลป์ไทย จนมีความรู้ความสามารถอย่างดี
ทางด้านดุริยางค์ศิลป์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เพลงต่างๆ ไว้หลายเพลง ได้แก่ เพลงสรรเสริญพระบารมี ต่อมารัชกาลที่ 6 จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์แก้ไขใหม่และโปรดเกล้า ให้ใช้ร้องโดยทั่วไป เพลงมหาชัยแบบสากล และเพลงไทย เช่น เพลงเขมรไทรโยค ช้าประสม
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น