ครู ช้อย สุนทรวาทิน เป็นครูปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นบุตรนายทั่ง สุนทรวาทิน นักดนตรีปี่พาทย์ที่สามารถผู้หนึ่งในสมัยนั้นและมีวงปี่พาทย์เป็นของตนเอง ครูช้อยแต่งงานกับนางสาวไผ่ ตั้งบ้างเรือนเป็นหลักฐานอยู่ที่ตำบลสวนมะลิ ในกรุงเทพมหานคร มีบุตรธิดา 4 คน คือ แช่ม ชื่น ชมและผิว ครูช้อยถึงแก่กรรมราวปลายสมัยรัชกาลที่ 5
ครู ช้อยมีความสามารถทางดนตรีเป็นที่อัศจรรย์นัก เนื่องจากตาบอดเมื่อครั้งเป็นไข้ทรพิษตั้งแต่ยังเล็ก ทั้งที่ยังมิได้ร่ำเรียนกับบิดาอย่างจริงจัง วันหนึ่งคนตีระนาดเอกของวงไม่สบาย ทำให้วงขาดมือระนาดเอก ครูช้อยก็สามารถเป็นคนระนาดนำวงบรรเลงสวดมนต์เย็นฉันเช้าได้ด้วยดีโดยไม่ผิด พลาดบกพร่อง เป็นเหตุให้ท่านบิดาเห็นสำคัญจนทุ่มเทถ่ายทอดวิชาให้ต่อมา เพื่อจะได้เป็นวิชาชีพเลี้ยงตัวต่อไปในภายภาคหน้า
ครู ช้อย เป็นครูดนตรีที่มีลูกศิษย์จำนวนมาก ลูกศิษย์บางคนก็กลายเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง และมีความสำคัญต่อวงการดนตรีมาก เช่น พระยาประสานดุริยศัพท์ ( แปลก ประสานศัพท์ ) เจ้ากรมปี่พาทย์หลวงในรัชกาลที่ 6 พระยาเสนาะดุริยางค์ ( แช่ม สุนทรวาทิน ) บุตรชายของครูช้อยก็ได้เป็นผู้ช่วยปลัดกรมปี่พาทย์หลวงในรัชกาลที่ 6 นอกจากนี้ก็มี พระประดิบดุริยกิจ ( แหยม วิณิน ) และหลวงบรรเลงเลิศเลอ ( กร กรวาทิน ) และ ลูกศิษย์ตั้งแต่ครั้งอยู่วัดน้อยทองอยู่ ก็ได้เป็นถึงปลัดกรมปี่พาทย์หลวง และนักดนตรีอีกหลายคนของกรมปี่พาทย์หลวงในรัชกาลที่ 6 ก็เป็นลูกศิษย์ของครูช้อยด้วย นอกจากนี้ครูช้อยยังได้รับเชิญเป็นครูดนตรีตามวังเจ้านาย และบ้านของท่านผู้ใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 อีกด้วย
ครู ช้อยได้แต่งเพลงที่ล้วนมีทำนองดีเด่นหลายเพลง เช่น เพลงครอบจักรวาล และม้ายองสามชั้น แขกลพบุรีสามชั้น เขมรปี่แก้วสามชั้น ( ทางธรรมดา ) เขมรโพธิสัตว์ โหมโรงมะลิเลื้อย พราหมณ์เข้าโบสถ์ ใบ้คลั่งสามชั้น เพลงอกทะเลสามชั้น ฯลฯ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น