อาจารย์มนตรี ตราโมท เดิมชื่อ บุญธรรม ตราโมท เกิดวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2443 ที่บ้านท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรนายยิ้ม และนางทองอยู่ เมื่อ พ.ศ. 2475 สมรสกับนางสาวลิ้นจี่ (บุรานนท์) มีบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่ 2 คน คือ นายฤทธี และนายศิลปี ต่อมาเมื่อนางลิ้นจี่ ถึงแก่กรรมจึงแต่งงานกับนางสาวพูนทรัพย์ (นาฏประเสริฐ) มีบุตร 2 คน คือ นางสาวดนตรี และนายญาณี
ความสามารถและผลงาน
อาจารย์มนตรี ตราโมท เริ่มการศึกษา โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี (ปรีชาพิทยากร) สอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายหลังไปเรียนต่อที่โรงเรียนพรานหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
อาจารย์มนตรี สนใจดนตรีมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ ซึ่งที่วัดนี้มีวงปี่พาทย์และมีการฝึกซ้อมอยู่เสมอ จึงได้ยินเสียงเพลงจากวงปี่พาทย์อยู่เป็นประจำ จนในที่สุดได้รู้จักกับนักดนตรีในวงและขอเข้าไปเล่นด้วย เมื่อมีการบรรเลงก็มักจะไปช่วยตีฆ้องเล็กหรือทุ้มเหล็กด้วยเสมอ
เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 อาจารย์มนตรีตั้งใจจะมาเรียนต่อในกรุงเทพฯ แต่บังเอญเจ็บกระเสาะกระแสะเรื่อยมา จึงไม่ได้เรียนต่อ ครูสมบุญ นักฆ้องซึ่งเป็นครูปี่พาทย์ประจำวงที่วัดสุวรรณภูมิ ชวนให้มาหัดปี่พาทย์ จึงได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมาประมาณ 2 ปี และได้เป็นนักดนตรีประจำวงปี่พาทย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ต่อมา ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านปี่พาทย์ที่จังหวัดสมุทรสาคร ราว พ.ศ. 2456 ที่บ้านครูสมบุญ สมสุวรรณ ที่บ้านนี้มีวงปี่พาทย์และแตรวง อาจารย์มนตรีจึงได้ฝึกทั้ง 2 อย่างคือ ด้านปี่พาทย์ ฝึกระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ ด้านแตรวง ฝึกเป่าคลาริเน็ต นอกจากนี้ครูสมบุญยังได้แนะวิธีแต่งเพลงให้ด้วย
ในปี พ.ศ. 2460 อาจารย์มนตรี ได้เข้ามาสมัครรับราชการในกรมพิณพาทย์หลวง ซึ่งมีพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นเจ้ากรม ขณะที่ทำงานอยู่ก็ได้เรียนโรงเรียนพรานหลวงด้วยจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6
อาจารย์มนตรี ได้รับเลือกเป็นนักดนตรีประจำวงข้าหลวงเดิม เป็นวงที่จะต้องตามเสด็จทุกๆแห่ง โดยพระยาประสานดุริยศัพท์จะเป็นผู้ควบคุมทุกครั้ง อาจารย์มนตรี เริ่มแต่งเพลงเมื่ออายุ 20 ปี เพลงแรกที่แต่ง คือ เพลงต้อยติ่ง 3 ชั้น เมื่อ พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวน แพทย์ถวายการแนะนำให้ทรงฟังนิทานหรือดนตรีเบา ประกอบกับเสวยพระโอสถ กรมมหรสพจึงจัดวงเครื่องสายเบาๆ บรรเลงถวาย วงเครื่องสายนี้ได้เพิ่มขิมขึ้น อาจารย์มนตรีได้รับหน้าที่เป็นผู้ตีขิม ในวังหลวงเป็นคนแรก บรรเลงถวายทุกวันจนพระอาการหายเป็นปกติ
ความสามารถและผลงาน
อาจารย์มนตรี ตราโมท เริ่มการศึกษา โดยเข้าเรียนที่โรงเรียนประจำจังหวัดสุพรรณบุรี (ปรีชาพิทยากร) สอบได้ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภายหลังไปเรียนต่อที่โรงเรียนพรานหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
อาจารย์มนตรี สนใจดนตรีมาตั้งแต่เด็ก เนื่องจากบ้านอยู่ใกล้วัดสุวรรณภูมิ ซึ่งที่วัดนี้มีวงปี่พาทย์และมีการฝึกซ้อมอยู่เสมอ จึงได้ยินเสียงเพลงจากวงปี่พาทย์อยู่เป็นประจำ จนในที่สุดได้รู้จักกับนักดนตรีในวงและขอเข้าไปเล่นด้วย เมื่อมีการบรรเลงก็มักจะไปช่วยตีฆ้องเล็กหรือทุ้มเหล็กด้วยเสมอ
เมื่อจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 อาจารย์มนตรีตั้งใจจะมาเรียนต่อในกรุงเทพฯ แต่บังเอญเจ็บกระเสาะกระแสะเรื่อยมา จึงไม่ได้เรียนต่อ ครูสมบุญ นักฆ้องซึ่งเป็นครูปี่พาทย์ประจำวงที่วัดสุวรรณภูมิ ชวนให้มาหัดปี่พาทย์ จึงได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังตั้งแต่นั้นมาประมาณ 2 ปี และได้เป็นนักดนตรีประจำวงปี่พาทย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ต่อมา ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมด้านปี่พาทย์ที่จังหวัดสมุทรสาคร ราว พ.ศ. 2456 ที่บ้านครูสมบุญ สมสุวรรณ ที่บ้านนี้มีวงปี่พาทย์และแตรวง อาจารย์มนตรีจึงได้ฝึกทั้ง 2 อย่างคือ ด้านปี่พาทย์ ฝึกระนาดเอกและฆ้องวงใหญ่ ด้านแตรวง ฝึกเป่าคลาริเน็ต นอกจากนี้ครูสมบุญยังได้แนะวิธีแต่งเพลงให้ด้วย
ในปี พ.ศ. 2460 อาจารย์มนตรี ได้เข้ามาสมัครรับราชการในกรมพิณพาทย์หลวง ซึ่งมีพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เป็นเจ้ากรม ขณะที่ทำงานอยู่ก็ได้เรียนโรงเรียนพรานหลวงด้วยจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6
อาจารย์มนตรี ได้รับเลือกเป็นนักดนตรีประจำวงข้าหลวงเดิม เป็นวงที่จะต้องตามเสด็จทุกๆแห่ง โดยพระยาประสานดุริยศัพท์จะเป็นผู้ควบคุมทุกครั้ง อาจารย์มนตรี เริ่มแต่งเพลงเมื่ออายุ 20 ปี เพลงแรกที่แต่ง คือ เพลงต้อยติ่ง 3 ชั้น เมื่อ พ.ศ. 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประชวน แพทย์ถวายการแนะนำให้ทรงฟังนิทานหรือดนตรีเบา ประกอบกับเสวยพระโอสถ กรมมหรสพจึงจัดวงเครื่องสายเบาๆ บรรเลงถวาย วงเครื่องสายนี้ได้เพิ่มขิมขึ้น อาจารย์มนตรีได้รับหน้าที่เป็นผู้ตีขิม ในวังหลวงเป็นคนแรก บรรเลงถวายทุกวันจนพระอาการหายเป็นปกติ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น