พระยา เสนาะดุริยางค์ เป็นบุตรคนโตของครูช้อย และนางไผ่ สุนทรวาทิน ได้ฝึกฝนวิชาดนตรี จากครูช้อย ผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศน์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร) ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2422 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนเสนาะดุริยางค์” ในปี พ.ศ. 2446 ตำแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์หลวงจึงโปรดให้เลื่อนเป็น“หลวงเสนาะดุริยางค์”ในปีพ. ศ.2453ในตำแหน่งเดิมจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนเป็น “พระเสนาะดุริยางค์” รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดี ท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาเสนาะดุริยางค์” ในปี พ.ศ. 2468
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่วไป เช่น ครูเทียม คงลายทอง ครูพริ้ง ดนตรีรส ครูสอน วงฆ้อง ครูมิ ทรัพย์เย็น ครูแสวง โสภา ครูผิว ใบไม ้ครูทรัพย ์นุตสถิตย ์ครูอรุณ กอนกุล ครูเชื้อ นักร้อง และครูทองสุข คำศิริพระยาเสนาะดุริยางค ์ ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2492 เมื่อมีอายุได้ 83 ปี
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุมวงพิณพาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ม.ร.ว. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่วไป เช่น ครูเทียม คงลายทอง ครูพริ้ง ดนตรีรส ครูสอน วงฆ้อง ครูมิ ทรัพย์เย็น ครูแสวง โสภา ครูผิว ใบไม ้ครูทรัพย ์นุตสถิตย ์ครูอรุณ กอนกุล ครูเชื้อ นักร้อง และครูทองสุข คำศิริพระยาเสนาะดุริยางค ์ ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2492 เมื่อมีอายุได้ 83 ปี
2 ความคิดเห็น:
ท่านเหมือนครูเพลงหรือครูดนตรีไทยที่เก่าเเก่มั่กๆค่า
55555555555555
ฮิ
ฮิ
แสดงความคิดเห็น